วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Sunday, June 22, 2008

บ้านไหล่หิน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แรงงาน ภาพถ่าย และความทรงจำ


ป้ายนิทรรศการ "หยาดเหงื่อแรงงานของคนไหล่หิน"


ป้ายนิทรรศการ "จากไหล่หินสู่แดนไกล"


ภาพลูกชายอายุ 4 ขวบถ่ายที่วัดไหล่หิน พร้อมจดหมายเขียนว่า
"น้องตั้มถ่ายที่วัดไหล่หินหลวง มอบให้พ่อ ยามคิดถึง น้องตั้ม อายุครบ 4 ปี"


ความจริงแล้ว บ้านไหล่หิน มีประสบการณ์การทำงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่โชกโชนไม่น้อยไปกว่าบ้านปงสนุกเลย โดยเฉพาะในระยะหลังที่มีการร่วมมือกับนักวิจัยของ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่มาร่วมกับชาวบ้านและเครือข่ายทำงานวิจัยเกี่ยวกับการทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมคิด และจัดการกับคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงที่ร่วมกันพัฒนามาตั้งแต่พ.ศ.2548

โดยเครือข่ายนี้มีทั้งผลการวิจัยที่เป็นเอกสาร และการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ได้รับการนำเสนอสู่เวทีวิชาการระดับชาติเป็นระยะ

ล่าสุด ได้มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านภาพถ่าย ที่เล่าเรื่องการทำงานต่างแดนของคนไหล่หิน สัก 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว (เมื่อราวทศวรรษที่ 2530) ณ ที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน ตะวันออกกลาง หรือที่ใดๆในโลก ซึ่งเขาเหล่านั้นก็จะมีเอกสารที่เป็นภาพถ่าย จดหมายที่เขียนถึงคนรัก ไม่ว่าจะเป็นภรรยา หรือลูกหลาน ในประวัติศาสตร์เหล่านั้นยังมีเรื่องราวเล็กๆของการพบรักกันในต่างแดนอีกด้วย

การเล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังกล่าวในระยะเวลาไม่ไกลตัวนัก แต่กลับสร้างสำนึกที่ผูกพันกับท้องถิ่นได้ชัดเจนเงินที่ส่งมาที่บ้าน ส่วนหนึ่งได้ทำการบูรณะวัดไหล่หินที่พวกเขาเคารพรักศรัทธา ส่วนหนึ่งคือ ซื้อไร่นาที่ดินซื้อรถ ใช้หนี้ ส่งลูกเรียน ปลูกบ้าน มีเงินเก็บไว้ให้ลูกหลาน

นิทรรศการที่พวกเขาได้ร่วมกันจัดแสดงมีชื่อต่างๆดังนี้
"ทำไมต้องไปเมืองนอก"
"จากไหล่หินสู่แดนไกล"
"หนักเอาเบาสู้"
"จดหมายถึงบ้าน-จดหมายจากบ้าน"
"กินอยู่อย่างไรในเมืองนอก"
"หยาดเหงื่อแรงงานของคนไหล่หิน"


ข้อความที่ทิ้งท้ายในนิทรรศการ ได้สรุปให้รวบยอดให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างดีว่า
"...ถึงจะไปนอก ถ้าทางบ้านไม่เก็บเงิน เงินก็ไม่เหลือเหมือนกัน"

ที่กล่าวมานั้น ถูกเล่าอยู่ในบทความชื่อว่า "ภาพถ่าย : จดหมายเหตุชาวบ้าน" โดย นวลพรรณ บุญพรรณ และจุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์ ใน จดหมายข่าวสมาคมจดหมายเหตุไทย ฉบับที่4 ต.ค.2550-ก.ย.2551 หน้า 25-42

ตัวอย่างนี้ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วประวัติศาสตร์อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ประวัติศาสตร์คือการร่วมกันเขียนความทรงจำร่วมกันของสังคมหนึ่งๆ เพื่อเรียนรู้รากเหง้าของตน มิใช่ว่าเป็นเพียงประวัติคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจอย่างเดียว ซึ่งประวัติศาสตร์เช่นนี้จะเป็นการสร้างความหมายร่วมกันของคนในสังคม และระหว่างสังคมต่างๆได้อย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
.......
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง


อาทิตย์ 22
มิถุนา 51

No comments: