วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Thursday, July 16, 2009

Muse Mobile มาลำปางแน่ งานใหญ่ระดับชาติ...เริ่มต้นที่นี่

บรรยากาศนิทรรศการ Muse Mobile จำลอง

นายกฯ นิมิตร กับ โมเดลนิทรรศการ Muse Mobile


พิธีการรับมอบ นิทรรศการ Muse Mobile

บรรยากาศนิทรรศการ Muse Mobile จำลอง "มุมสีสันตะวันตก"

“พิพิธภัณฑ์ติดล้อ”ลุยให้ความรู้ทั่วประเทศ
เดลินิวส์ วันอาทิตย์ ที่ 05 กรกฎาคม 2552 เวลา 0:00 น

ทุกวันนี้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดมีเฉพาะในสถานศึกษาเท่านั้น เหล่าวัยโจ๋สามารถหาความรู้ได้เกือบทุกที่ทุกเวลา!!!

ล่าสุดกำลังจะมีแหล่งความรู้แบบใหม่ให้ตักตวงใส่สมองกันอีกแล้ว เมื่อทางสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้จัดทำโครงการนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ที่เป็น การกระจายความรู้ออกสู่ทุกภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตก เพื่อให้วัยโจ๋และผู้ที่สนใจมีโอกาสในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน ผ่านพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้และกิจกรรมเคลื่อนที่รูปแบบใหม่

โดยจะยก“นิทรรศการเรียงความประเทศไทย” ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของประเทศไทยและคนไทยขึ้นรถสัญจรไปทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศ ในชื่อ “Muse Mobile พิพิธภัณฑ์ติดล้อ”

พลเรือเอก ฐนิธ กิตติอำพน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากทางสถาบันฯ ได้เปิดมิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มาเป็นเวลาได้ปีกว่าๆ มีผู้สนใจเข้าชมแล้วกว่า 2.6 แสนคน แต่ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จึงเกิดแนวคิดกระจายความรู้ออกสู่ทุกภูมิภาคบ้าง เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้เท่าเทียมกัน ซึ่งการสัญจรของนิทรรศการและกิจกรรมในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบของการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นในสังคมไทย จนนำมาสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดไป

สำหรับเนื้อหาภายใต้หัวข้อ “เรียงความประเทศไทย”ของพิพิธภัณฑ์ติดล้อ จะถอดแบบมาจากนิทรรศการถาวรจากมิวเซียมสยาม บอกเล่าให้ผู้ที่เข้าชมได้รู้เรื่องราวของประเทศไทย แบบเน้นการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ อาทิ ไทยแท้คืออะไร? คุณคือคนไทยหรือเปล่า? ฯลฯ

“Muse Mobile พิพิธภัณฑ์ติดล้อ” พร้อมหมุนล้อสัญจรไปทั่วทุกภูมิภาคแล้ว โดยจะประเดิมที่แรกใน กทม. ก่อน คือลานพาร์คพารากอน ในวันที่ 11 – 15 ก.ค. เวลา 10.00 -20.00 น. จากนั้นจะล้อหมุนย้ายไปที่ เทศบาลนครลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง โดยจะเปิดให้ชมฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. – 30 ก.ย.นี้
ใครอยู่ใกล้ในช่วงเวลาดังกล่าวก็ไปอัพเดทความรู้เพิ่มเติมกันได้เลย....
....................
“Muse Mobile ” พิพิธภัณฑ์ติดล้อ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2552 07:23 น.
รายงานพิเศษ โดย...เจิมใจ แย้มผกา
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000079087

วินาที นี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พิพิธภัณฑ์” ที่มีความน่าสนใจและอยู่ในความสนใจที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย หนีไม่พ้นสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สบร.) หรือที่ชินหู-ชินปากกันในนามของ “มิวเซียมสยาม” ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกระทรวงพาณิชย์เก่า ท่าเตียน

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ สำหรับเด็กๆ หรือผู้สนใจที่อยู่ในต่างๆ จังหวัดอาจมีอุปสรรคในการเดินทางมาเยี่ยมชม ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทางสบร. จึงได้จัดซื้อตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ 4 ตู้ จัดตกแต่งในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ให้คล้ายคลึงกับห้องต่างๆ ของมิวเซียมสยามที่ถูกย่อส่วนลงมา จุดประสงค์เพื่อให้เป็น Muse Mobile หรือ พิพิธภัณฑ์ติดล้อที่สามารถพ่วงเข้ากับหัวลาก และนำไปจัดแสดงในจังหวัดต่างๆ ได้

ทั้งนี้ จังหวัดแรกที่จะได้รับชมก็คือ จังหวัดลำปาง โดยจะเปิดให้ชมในในวันที่ 1 ส.ค.นี้
พล.ร.อ.ธนิฐ กิตติอำพล ในฐานะรักษาการณ์ผอ.สบร.และผอ.มิวเซียมสยาม ให้ข้อมูลว่า เนื้อที่จะจัดแสดงใน Muse Mobile ทั้ง 4 ตู้แบ่งออกได้ดังนี้คือ ตู้แรกเป็นเรื่องของไทยแท้ ดีเอ็นเอไทย ตู้ที่สองจัดเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ ตู้ที่สามเป็นเนื้อหาช่วงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและตู้คอนเทนเนอร์สุดท้าย จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสีสันตะวันตก

อย่างไรก็ตาม นอกจากตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 4 แล้วยังจะมีมีการตั้งเต้นท์กิจกรรมขนาด 14 เมตร เพื่อจัดกิจกรรมด้านการศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมตอบคำถาม เล่นเกม รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมความรู้อื่นๆ ที่สนุกสำหรับเด็กๆ

ทุกอย่างที่จัดแสดงจับต้องได้หมด ไม่มีคำว่าห้ามสำหรับเด็กๆ ที่อยากรู้ อย่างกลองมโหระทึกโบราณอายุราวๆ 1,000 ปี เด็กๆ ก็ตีได้ แต่เครื่องมือแบบอินเทอร์แอคทีฟที่เห็นในมิวเซียมสยามอย่างพวกเกมขุดวัตถุ โบราณ เกมยิงปืนใหญ่ เราไม่ได้นำไปเพราะไม่มีคนซ่อม”

“เด็กๆ บ้านเราชอบไปชอปปิ้ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะจะทำให้เด็กของเราให้ความสำคัญกับกระแสทุนนิยมมากเกินไป จนละเลยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะการใช้เวลาว่างไปในด้านการศึกษาและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ การที่พ่อแม่พาลูกพาหลานไปดูพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เราจำเป็นต้องฝึกให้เราได้ดูแหล่งเรียนรู้ เพื่อทำให้เขาเกิดนิสัยและติดนิสัยการเก็บเกี่ยวความรู้ที่นอกเหนือจากการ เรียนในตำรา”พล.ร.อ.ธนิฐให้แง่คิด

ในขณะที่ตัวแทนจากจังหวัดที่โชคดีได้พิพิธภัณฑ์ติดล้อไปจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอย่าง...

ด้าน ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศบาลนครลำปาง เล่าความรู้สึกที่ได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดแรกที่ Muse Museum จะไปจัดแสดงว่า รู้สึกดีใจมากที่คณะผู้บริหารสบร.เลือกลำปาง เพราะลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ ได้รับการยกให้เป็น 1 ใน 10 เมืองเก่าของประเทศ เป็นเมืองที่เหมาะแก่การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ การนำพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่จากมิวเซียมสยามไปจัดแสดงเช่นนี้ จะช่วยปลุกกระแสการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประชาชนในพื้นที่ และเป็นการจุดประกายการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียนของเด็กและเยาวชนในจังหวัด ด้วย

“เราได้จัด พื้นที่การจอดคอนเทนเนอร์ไว้ที่จตุรัสกลางเมืองเลยครับ จตุรัสนี้คนลำปางเรียกว่า “ข่วงนคร” ข่วงเป็นภาษาคำเมืองแปลว่าสแควร์ เป็นพื้นที่ของเทศบาลเมืองลำปางที่จัดเป็นสวนสาธารณะ ขณะนี้ประชาสัมพันธ์ออกไปมากแล้วครับ คนลำปางตอบรับดีมาก ดีใจกันใหญ่ เด็กนักเรียนก็ตื่นเต้น เชื่อว่าน่าจะมีคนดูเยอะ เราได้โควตาการจัดแสดงสองเดือน คือสิงหาคมและกันยายน
....................
ข่าวจากเทศบาลนครลำปาง
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้จัดพิธีมอบกิจกรรม พิพิธภัณฑ์ติดล้อ หรือ Muse Mobile และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับเทศบาลนครลำปาง ในการจัดทำโครงการนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ในจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 ณ สวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา

โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบกิจกรรม Muse Mobile ให้กับ ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง และพลเรือเอก ฐนิธ กิตติอำพน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ลงนามในบันทึกความร่วมมือ

สำหรับโครงการนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ หรือ Muse Mobile เป็นการนำเสนอการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลิน แนวคิดในการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) คือ

1.แปลก ใหม่ ทันสมัย ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
2.ประกอบด้วย ชุดนิทรรศการและกิจกรรมประกอบเพื่อการเรียนรู้ในเชิง Hand-on และ Interactive อย่างครบถ้วย สมบูรณ์
3.เคลื่อนย้ายได้สะดวก บนพื้นฐานความประหยัด
4.บริหารจัดการได้ภายใต้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม
5.สามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่
6.ใช้สถาปัตยกรรม ตู้คอนเทนเนอร์และสถาปัตยกรรมเต็นท์เป็นรูปแบบและแนวหลักในการออกแบบจัดทำเพื่อเน้นความเป็น Landmark ของจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

จึงขอเชิญชาวลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง เข้าชมนิทรรศการการเรียนรู้เคลื่อนที่ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2552 โดยเปิดให้ชมฟรี.
....................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 16
กรกฎา 52

Monday, July 6, 2009

บูรณะพระธาตุลำปางหลวง...ข่าวล่ามาจากกรมศิลปากร


"พระธาตุลำปางหลวง ตัวแทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล"
ภาพโดย วโรดม ศุขสวัสดิ์, หม่อมหลวง, 16 ธันวา 46


ผังพื้นพระธาตุลำปางหลวง
ที่มา : พรรณนิภา ปิณฑวณิช, การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วิทยานิพนธ์ สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546


รูปด้านพระธาตุลำปางหลวง
ที่มา : พรรณนิภา ปิณฑวณิช, การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วิทยานิพนธ์ สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546


วัดพระธาตุลำปางหลวงในอดีต (ปัจจุบันไม่มีเสาหงส์ด้านหน้าแล้ว) โปรดสังเกตเครื่องนหลังคาแบบเดิมก่อนที่เป็นศิลปะสกุลล้านนา ก่อนจะทำการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเครื่องบนแบบรัฐสยาม
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พระนคร

ครั้งแรกบูรณะพระธาตุลำปางหลวงอายุ 1,329ปี
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 25 มิถุนายน 2552 02:02

จังหวัดลำปางตั้งคกก.ดูแลการบูรณะองค์พระธาตุลำปางหลวงอายุราว 1,329ปีเป็นครั้งแรก ระบุช่างกรมศิลปากรเริ่มการบูรณะแล้ว กำหนดเสร็จ 5 มี.ค.53

นายจำลอง วรรณโวหาร ผู้ใหญ่บ้านลำปางหลวง หมู่ 1 ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา ลำปาง ในฐานะ คณะกรรมการดูแลการบูรณะองค์พระธาตุลำปางหลวง ซึ่งทางจังหวัดลำปางได้แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อให้ทำงานติดตามร่วมกับภาคส่วนราชการและคณะทำงาน ในการบูรณะองค์พระธาตุลำปางหลวง

เขาเปิดเผยว่า ขณะนี้ช่างจากสำนักศิลปากรที่ 7 จังหวัดน่าน ได้เริ่มดำเนินงานบูรณะองค์พระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีอายุกว่า 1,329 ปี แล้ว

ในขั้นตอนแรก ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งนั่งร้านรอบพระธาตุ แล้วขึ้นไปบนยอดสูงสุดขององค์พระธาตุ ซึ่งมี ความสูงประมาณ 50 เมตร เพื่อถอดแก้วแหวนเงินทอง เพชรนิลจินดาที่ประดับ และยอดฉัตรทองคำแท้ ลงมาตรวจสอบ และเตรียมซ่อมแซม เนื่องจากเมื่อ 20 ปีก่อน ยอดฉัตรถูกฟ้าผ่า

"การบูรณะองค์พระธาตุวัดลำปางหลวง ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรก ซึ่งทางจังหวัดลำปาง และคณะศรัทธาวัด มีแนวทางจะบูรณะองค์พระธาตุให้มีสภาพเดิมทุกอย่าง ไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนไปจากเดิม"

ผู้ใหญ่บ้านลำปางหลวง กล่าวอีกว่า ส่วนทรัพย์สินมีค่าทั้งหมดทางเจ้าหน้าที่ได้นำมาเก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัยแล้ว และหลังจากการบูรณะองค์พระธาตุเสร็จเรียบร้อย ประมาณวันที่ 5 มีนาคม 2553 ทางคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ จะนำสิ่งของอันมีค่าทั้งหมดนำไปประดิษฐานและประดับไว้บนยอดฉัตรเหมือนเดิม

และในวันนี้(24 มิ.ย.) ทางเจ้าหน้าที่จะได้สำรวจความชื้นขององค์พระธาตุ โดยใช้สว่านเจาะฐานล่างสุดของพระธาตุเพื่อดูว่าส่วนไหนชำรุดเสียหายหรือไม่อย่างไร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะได้นำเรื่องเข้าหารือคณะกรรมการบูรณะองค์พระธาตุลำปางหลวงทุกฝ่าย ก่อนจะมีมติบูรณะในขั้นต่อไปจะดำเนินการอย่างไร
...................
อ่านเรื่องเกี่ยวกับพระธาตุลำปางหลวงเพิ่มเติมได้ที่
...................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

จันทร์ 6
กรกฎา 52

Thursday, July 2, 2009

อีกรางวัลของวัดปงสนุก...รางวัลอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยามฯปี 52


โปสการ์ดนิทรรศการ คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ วันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร
ภาพจาก http://www.painaima.com/topic.php?mcat_id=5&scat_id=1&topic_id=1088

อ.วิถี พาินิชพันธ์ ในขบวนแห่สลุงหลวง ปี 2537
ภาพจาก พระน้อย แห่งวัดปงสนุก อ.อนุกูล ศิริพันธุ์ แห่งชุมชนบ้านปงสนุก

ลำปางยังไม่ร้างรางวัลจริงๆ ไม่กี่วันที่ผ่านมาเมืองลำปางพึ่งได้ฉลองการมาถึงของรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามฯไป ก็มีข่าวมาอีกแล้วว่า จากการประกาศรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2552 วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุกก็ซิวไปอีก 1 รางวัล

วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จ.ลำปาง ได้รับรางวัลประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม เช่นเดียวกับปีที่แล้วที่วัดบ้านก่อ อ.วังเหนือ จ.ลำปางคว้าไป ไม่เพียงเท่านั้นในประเภทองค์กร กลุ่มที่ชื่อ คนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ อันมีศูนย์กลางอยู่ที่การอนุรักษ์วัดปงสนุกก็ได้รับรางวัลด้วย

ไม่เพียงเท่านั้นประเภทบุคคล อ.วิถี พานิชพันธ์ คนลำปางอีกท่านก็ได้รับรางวัลนี้เป็นเกียรติด้วย

ในปีนี้จึงยังมีเรื่องที่น่ายินดีเข้ามาเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
รายชื่อรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2552
............................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 2
กรกฎา 52

เทศบาลทำหนังสือชมเชย เจ้าของตึกเก่าใจอนุรักษ์

อาคารบ้านพักเลขที่ 52-54 ถ.ทิพย์วรรณ ต.สวนดอก


กลุ่มอาคารแถวไม้ 2 ชั้น ถ.ทิพย์ช้าง
ภาพถ่ายโดย คุณอรรณพ สิทธิวงศ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คุณพัลลภา สุริยะมณี
ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง สำนักการช่าง เทศบาลนครลำปาง

นอกจากการวางยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในกระดาษแล้ว เทศบาลยังได้ทำงานเชิงรุกในการจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ ล่าสุดก็คือทำหนังสือชมเชยเจ้าของตึกเก่าที่ได้ทำการบำรุงรักษา แม้กระทั่งก่อสร้างใหม่ที่ส่งเสริมความเป็นเมืองเก่าของลำปาง

ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง โดยคุณอรรณพ สิทธิวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนเล็งเห็นว่า เจ้าของอาคารเหล่านี้ได้แก่
1. คุณมยุรี เอื้อมลฉัตร เจ้าของอาคารบ้านพักเลขที่ 52-54 ถ.ทิพย์วรรณ ต.สวนดอก
และกลุ่มอาคารแถวไม้ 2 ชั้น ถ.ทิพย์ช้าง ต.สวนดอก
2. คุณอรุณ เพ็ชรสุวรรณ เจ้าของอาคารแถวไม้ 2 ชั้น เลขที่ 181
3. คุณสุพจน์ พงษ์พันธุ์ เจ้าของอาคารแถวไม้ 2 ชั้น เลขที่ 183
4. คุณอัมพร สุเมธวานิชย์ เจ้าของอาคารแถวไม้ 2 เลขที่ 185
5. คุณบุญชู นิทรากิจ เจ้าของอาคารแถวไม้ 2 ชั้น เลขที่ 187

ได้สนับสนุนการพัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองลำปางโดยการอนุรักษ์อาคารแถวไม้เดิม และตกแต่งทาสีอาคารใหม่ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้คืนสภาพอาคารเดิม รื้อถอนป้ายโฆษณาออกจากอาคาร ทำให้อาคารมีความสวยงาม ส่งเสริมเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เมือง

จึงเสนอเรื่องไปยังผู้บริหารว่าควรจะดำเนินการทำหนังสือแสดงความขอบคุณเจ้าของบ้าน และให้ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือตามสื่อต่างๆ เพื่อเผยแพร่นโยบายการพัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเทศบาลนครลำปางให้ประชาชนเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วม

จากหนังสือ สำนักการช่าง ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ที่ ลป 52004/113 เรื่อง การชมเชยบุคคลผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2552

ตามอ่านบางส่วนได้ใน
.........................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 2
กรกฎา 52

เมื่อพระเรียนเป็น “ภัณฑารักษ์” ที่วัดปงสนุก ลำปาง : บทความในเว็บประชาไท


ป้ายแสดงกิจกรรมหน้าวัดปงสนุก


บรรยากาศการ workshop

วัดปงสนุกยังฮอตไม่เลิก มีคนนำความเคลื่อนไหวกิจกรรมของวัดไปลงใน เว็บไซต์ประชาไท ที่เป็นสื่อมวลชนออนไลน์กระแสรอง นำเสนอเรื่องการอบรมภัณฑารักษ์ถวายพระภิกษุจากวัดทั่วภาคเหนือ เชิญอ่านรายละเอียดด้านล่าง

เมื่อพระเรียนเป็น “ภัณฑารักษ์” ที่วัดปงสนุก ลำปาง
Wed, 2009-07-01 06:37

คณะวิจิตรศิลป์ มช. ร่วมกับ ยูเนสโก และมหาวิทยาลัยดีกิ้น ออสเตรเลีย จัดการอบรมให้แก่พระสงฆ์เรื่อง “โครงการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ยูเนสโก” ที่วัดปงสนุก จ.ลำปาง ผู้จัดหวังพัฒนาศักยภาพชุมชนรอบวัดให้สามารถจัดการศิลปวัตถุในวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีรักษาความปลอดภัย ตลอดจนวิธีการในการจัดแสดงต่อสาธารณะ

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับองค์กรศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และมหาวิทยาลัยดีกิ้น ประเทศออสเตรเลีย จัดการอบรมให้แก่พระสงฆ์เรื่อง “โครงการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ยูเนสโก” (UNESCO Museum-to-Museum Partnership Project) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา และสร้างความตระหนักในการดูแลรักษา และการอนุรักษ์ รวมถึงการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้แก่คณะสงฆ์ โดยประเทศไทยได้รับเลือกเป็นโครงการนำร่องเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แผนงาน “Museum Capacity-Building Program for Asia and the Pacific region”

ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวได้แบ่งการจัดอบรมเป็น 2 ส่วน คือ การอบรมเกี่ยวกับพุทธศิลป์ล้านนา ซึ่งได้จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และการอบรมเกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ ภายใต้ชื่อ “UNESCO Museum Capacity Building Program, Lampang Workshop” ในระหว่างวันที่ 16 - 21 มิถุนายน 2552 ที่วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษา การอนุรักษ์ รวมถึงการจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้แก่คณะสงฆ์ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่โดยวัดปงสนุกซึ่งเป็นสถานที่จัดงานนั้นเคยได้รับรางวัลการอนุรักษ์ Award of merit จากโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award ของยูเนสโกในปีที่ผ่านมาจากเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิหารพระเจ้าพันองค์ อีกทั้งภายในวัดนั้นมีพิพิธภัณฑ์ที่ดำเนินการโดยพระสงฆ์และคนในชุมชนเอง

รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
ผู้ประสานงานโครงการ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนั้นมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนรายรอบวัดให้สามารถจัดการศิลปวัตถุในครอบครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะการศึกษาทำความเข้าใจและลำดับความสำคัญศิลปวัตถุต่างๆ ในครอบครอง การดำเนินการอนุรักษ์ป้องกันความเสียหาย รวมทั้งให้ความประทับใจแก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ต่อไป โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งพระภิกษุสงฆ์นั้นจะเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการจัดการเช่นที่เป็นมาตามประเพณีปฏิบัติแต่โบราณนอกจากนี้ยังจะส่งผลให้ผู้ชำนาญการด้านพิพิธภัณฑ์ประจำศูนย์มรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียแปซิฟิก ณ มหาวิทยาลัย ดีกิ้น ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับวัดต่างๆ ที่เข้าร่วมอบรม โดยผ่านทางกิจกรรมการฝึกอบรมที่จัดขึ้น

“ปัจจุบันศิลปวัตถุในวัดต้องเสี่ยงต่อภัยคุกคามทั้งจากผู้ค้างานศิลปะและความเสียหายจากสิ่งแวดล้อม โครงการฯ จึงต้องการฝึกอบรมพระภิกษุให้เข้าใจเทคนิคต่างๆ ที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ การจัดการศิลปวัตถุในครอบครอง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนวิธีการในการจัดแสดงต่อสาธารณชน ส่วนใหญ่ศิลปวัตถุที่พบในวัดมักประกอบด้วยพระพุทธรูป ภาพพระบฎแสดงเรื่องชาดก ปั๊ปสา และหีบธรรมเป็นหลัก”

สำหรับการฝึกอบรมครั้งนี้นั้นจะมุ่งให้ประโยชน์แก่พระภิกษุในวัดปงสนุกและพระจากวัดอื่นๆ ในจังหวัดลำปาง ตลอดจนพระสงฆ์จากวัดในเชียงใหม่และลำพูนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมีมรดกวัฒนธรรมในครอบครอง เนื่องจากวัดหลายแห่งได้เห็นตัวอย่างจากวัดปงสนุกจึงร้องขอให้มีการฝึกอบรมพระสงฆ์รวมทั้งบุคลากรของวัดเกี่ยวกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการศิลปวัตถุในครอบครอง โดยบางส่วนนั้นมีความตั้งใจที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของตนโดยให้ชุมชนดูแลเช่นเดียวกับที่วัดปงสนุก ซึ่งหลักสูตรการอบรมครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้สามารถนำกระบวนการประเมินความต้องการมาใช้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมกับทดสอบความเป็นไปได้ที่จะให้การฝึกอบรมรูปแบบต่างๆ แก่ชุมชน โดยผลการฝึกอบรมนั้นจะถูกนำมาใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์พิพิธภัณฑ์ชุมชนต่อไป

ส่วนในระยะยาวนั้นผลที่ได้คาดว่าจะสามารถสร้างจิตสำนึกและความต้องการที่จะอนุรักษ์มรดกทางศาสนาในหมู่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในพื้นที่ และเสริมสร้างศักยภาพในการให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ผ่านทางหน่วยงานและองค์กรฝึกอบรมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งการที่องค์การยูเนสโกและรัฐบาลสหรัฐฯ ร่วมมือกันครั้งนี้นั้นน่าจะส่งผลดีแก่พระสงฆ์และชาวบ้านจังหวัดลำปางในการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชุมชนซึ่งก็คือการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาด้วย รศ.วรลัญจก์ กล่าว
........................
ล้อมกรอบ

วัดปงสนุก จุดกำเนิดคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ สู่การยอมรับจากยูเนสโก
รณวัฒน์ จันทร์จารุวงศ์ รายงาน

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกได้มอบรางวัลทรงคุณค่า (Award of Merit) ให้กับทางวัดปงสนุกและคณะทำงาน อันเนื่องมาจาก “โครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก อ.เมือง จ.ลำปาง” ด้วยแนวคิดในการปฏิบัติงานอนุรักษ์แบบบูรณาการ ที่ไม่เพียงแต่อนุรักษ์เฉพาะตัวของผลงานจิตรกรรมฝาผนัง และโครงสร้างสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ โดยได้จัดพิธีมอบรางวัลขึ้นที่วัดปงสนุก จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา

ดร.ริชารด์ อิงเกิลฮาร์ท
ที่ปรึกษาอาวุโสผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโกได้กล่าวว่ารางวัลนี้เป็นรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การยูเนสโก ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อยกย่องให้ภาคเอกชนร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาค โดยโครงการซึ่งได้รางวัลนั้นเป็นเครื่องยืนยันแนวความคิดว่าการอนุรักษ์ควรเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว

รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้กล่าวว่าโครงการอนุรักษ์ในครั้งนี้นั้นเริ่มต้นจากความต้องการของชุมชนเอง และมีการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น ภาคเอกชน ศิลปิน และนักวิชาการ โดยเริ่มจากการศึกษาวิจัยทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชนเกี่ยวกับวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งทำให้ได้พบองค์ความรู้ในอดีตเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านคติความเชื่อ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

จากการศึกษาพบว่าหม่อนดอยซึ่งเป็นฐานของวิหารพระเจ้าพันองค์นั้นเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งมีอายุเกิน 500 ปี และน่าจะเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการสร้างหม่อนดอยเอง ในการศึกษานั้นได้มีการขุดข้างใต้วิหารพระเจ้าพันองค์ลึกลงไปที่ระดับ 7.5 เมตร โดยพบอาคาร 3 หลัง ที่มีอายุเกิน 500 ปี ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าหมื่นโลกนครผู้รักษาเมืองเขลางค์เคยใช้เป็นที่ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนาครั้งแรกในปี พ.ศ. 1929

ลักษณะตัวอาคารนั้นมีการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่าและจีน ซึ่งหลงอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางชาติพันธ์ระหว่างชาติเหล่านี้ ทั้งยังมีความเชื่อสืบกันมาว่า วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน ซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน

รศ.วรลัญจก์ กล่าวว่าการรวบรวมวัสดุที่ต้องใช้ในการบูรณะนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก วัสดุหลายอย่างนั้นไม่สามารถหาใหม่ได้ ตัวอาคารเกือบทั้งหลังประดับด้วยกระจกจืน หรือกระจกตะกั่วที่สามารถงอได้ ซึ่งเป็นกระจกเก่าแก่ที่ในสมัยนี้ไม่มีการทำกันแล้ว ถึงแม้มีความพยายามที่จะผลิตขึ้นมาใหม่แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากองค์ความรู้ในการผลิตกระจกจืนนั้นได้สูญหายไป ขนาดกระทรวงพลังงานปรมาณูเพื่อสันติพยายามใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถผลิตได้ จึงต้องไปรวบรวมมาจากวัดแห่งอื่นที่ได้รื้อทิ้งโดยไม่ทราบค่า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก นอกจากนี้เสาก็ พบว่าเสากลมภายในวิหารนั้นที่เป็นสีแดงนั้นได้เคยมีการลงรักปิดทองก่อนจะทาสีทับภายหลัง ซึ่งก็ได้มีการลงรักใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด

นายอนุกูล ศิริพันธ์
อาจารย์ประจำวิทยาลัยอินเตอร์เทค ลำปาง ซึ่งเป็นอดีตผู้นำชุมชนปงสนุก และเป็นตัวตั้งตัวตีในการอนุรักษ์วัดปงสนุกนั้นกล่าวว่า ตนมีความคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์วิหารแห่งนี้ตั้งแต่แรกจนเมื่อได้เข้าไปศึกษาที่ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการอนุรักษ์วิหารแห่งนี้ โดยได้มีการฟื้นฟูประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ที่เคยมีในอดีตให้นำมามาปฏิบัติในปัจจุบัน ทั้งได้มีการสืบสานองค์ความรู้ให้กับชุมชนโดยได้มีการอบรมช่างพื้นเมืองในพื้นที่ให้สามารถบูรณะเองได้เพื่อให้ทำหน้าที่ดูแลอาคารเหล่านี้ต่อไป

ขณะนี้ทางวัดปงสนุกได้รับความร่วมมือจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำพิพิธภัณฑ์ในบริเวณวัดเพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุโดยยึดหลักความเรียบง่าย ทั้งป้ายข้อมูลและไฟส่องสว่างที่ใช้ แม้แต่เสื่อปูพื้นก็เป็นฝืมือถักทอของชาวบ้านในพื้นที่เอง

ทั้งนี้องค์การยูเนสโกได้เคยมอบรางวัลให้แก่โครงการอนุรักษ์ดีเด่นในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง โดยครอบคลุมตั้งแต่อาคารที่เป็นวัง คือ โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม และโครงการอนุรักษ์ตำหนักใหญ่ วังเทวเวศน์ กรุงเทพมหานคร และอาคารที่เป็นหน่วยงานอย่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงโครงการอนุรักษ์ชุมชน เช่น วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น และชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
........................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 2
กรกฎา 52

กาดกองต้าได้รางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม


รางวัลพระราชทานจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
บรรยากาศการแห่รางวัลบริเวณกาดกองต้าถนนคนเดิน วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552
บรรยากาศการแห่รางวัลบริเวณกาดกองต้าถนนคนเดิน วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552

ความจริงแล้วเป็นรางวัลของปี 2551 ดังที่เคยนำเสนอไปแล้วในกระทู้

ลำปางคว้า 3 รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมฯระดับชาติ ในปี51 นี้

ซึ่งได้ลงข่าวเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 51 ซึ่งกล่าวไว้ว่า สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกอาคารสถาปัตยกรรมในลำปาง จำนวน 3 แห่งให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ดังต่อไปนี้
1.กลุ่มอาคารบริเวณกาดกองต้า ประเภทชุมชน
2.อาคารฟองหลี กาดกองต้า ประเภทอาคารพาณิชย์
3.วิหารวัดบ้านก่อ อ.วังเหนือ ประเภท ปูชนียสถานและวัดวาอาราม

แต่ในปีนี้ได้มีการพระราชทานรางวัลอย่างเป็นทางการดังข่าวจากเทศบาลนครลำปางต่อไปนี้

ชุมชนกาดกองต้า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ได้รับพระราชทานรางวัล “ อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2551” จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเภท อาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ

โดยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 เวลา 9.00 น. ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง เป็นผู้แทนชุมชนกาดกองต้า ได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท รับพระราชทานรางวัล “ อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2551” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร

และเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2552 ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง และชาวชุมชนกาดกองต้า ได้ร่วมกันแสดงความชื่นชม ยินดี ความภาคภูมิใจ และเฉลิมฉลองรางวัลอันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์สภาพอาคาร ร้านค้า ในอดีตที่ยังคงคุณค่าของสถาปัตยกรรม ศิลปะและความรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมาของนครลำปางให้คงอยู่สืบต่อไป
...............
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 2
กรกฎา 52