บรรยากาศหน้างาน บริเวณนิทรรศการงานอนุรักษ์ศิลปกรรมพุทธศิลป์ฯในเขต อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
บรรยากาศหน้างาน บริเวณนิทรรศการงานอนุรักษ์ศิลปกรรมพุทธศิลป์ฯในเขต อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
การเสวนา โดย อ.วิถี พานิชพันธ์ เรื่อง "พุทธศิลป์ลำปาง"
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอนุรักษ์ศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในเขต อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอนุรักษ์ศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในเขต อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
ณ วิทยาลัยอินเตอร์เทค จ.ลำปาง โดยศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ ม.เชียงใหม่ ร่วมกับ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
ศูนย์โบราณคดีจัดทำโครงการ "โบราณคดีสัญจรสู่ชุมชน" เรื่อง "การอนุรักษ์ศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในเขต อ.แม่ทะ จ.ลำปาง"
เนื่องจากเห็นความสำคัญจากการสำรวจแหล่งโบราณคดีในอ.แม่ทะ แล้วนำไปสู่การค้นพบงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าและความสำคัญ
ในแง่ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี ขณะที่ค้นพบ งานศิลปกรรมมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ขาดการดูแลรักษาที่ถูกวิธี
จึงเห็นว่าควรศึกษารูปแบบและความสัมพันธ์ทางงานศิลปกรรม ที่ควบคู่ไปกับการบริการชุมชนให้พระสงฆ์ เยาวชน
และผู้สนใจในเขตอำเภอแม่ทะมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อเน้นความสำคัญกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์จึงดำเนินโครงการดังกล่าว
นำมาสู่การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น
การประชุมครั้งนี้แบ่งเป็นภาคบรรยายและภาคปฏิบัติที่ดึงให้พระสงฆ์ในเขตอ.แม่ทะเข้ามาทำการเรียนรู้การอนุรักษ์เบื้องต้นในอีกโสตหนึ่ง
ในขณะที่การดำเนินงานก็มีการจัดเก็บข้อมูลและทำเป็นระบบทะเบียนและบัญชีโบราณวัตถุที่ส่งมอบให้แก่วัดต่างๆ ทั้งยังทำเอกสาร
การประชุมครั้งนี้แบ่งเป็นภาคบรรยายและภาคปฏิบัติที่ดึงให้พระสงฆ์ในเขตอ.แม่ทะเข้ามาทำการเรียนรู้การอนุรักษ์เบื้องต้นในอีกโสตหนึ่ง
ในขณะที่การดำเนินงานก็มีการจัดเก็บข้อมูลและทำเป็นระบบทะเบียนและบัญชีโบราณวัตถุที่ส่งมอบให้แก่วัดต่างๆ ทั้งยังทำเอกสาร
ประกอบการประชุมที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ 17 เรื่อง ได้แก่
1. วิหารน้อยแม่ทะ โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
2. มณฑปปราสาทสถิตสถานแห่งพุทธะ โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ / ฐาปนีย์ เครือระยา*
3. ธรรมาสน์ โดย เธียรชาย อักษรดิษฐ์
1. วิหารน้อยแม่ทะ โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์
2. มณฑปปราสาทสถิตสถานแห่งพุทธะ โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ / ฐาปนีย์ เครือระยา*
3. ธรรมาสน์ โดย เธียรชาย อักษรดิษฐ์
4. อาสนะสงฆ์หรือแท่นสังส์ โดย เธียรชาย อักษรดิษฐ์
5. สัตตภัณฑ์ ทิพย์แห่งเขาบริภัณฑ์ทั้ง 7 โดย ฐาปกรณ์ เครือระยา*
6. หีบธัมม์รักษาพระธรรมคำสอน โดย ฐาปกรณ์ เครือระยา*
7. ผ้าตั้งธรรมหลวง โดย เธียรชาย อักษรดิษฐ์
8.ไม้ประกับธัมม์และไม้บัญชัก โดย จักรพันธ์ ม่วงคร้าม
9. ผ้าห่อคัมภีร์ โดย เธียรชาย อักษรดิษฐ์
10. พระพุทธรูปไม้ โดย เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ
11. จารึกที่ฐานพระพุทธรูปไม้ โดย วีระศักดิ์ ของเดิม*
12. คำจารึกบนพุทธศิลป์แม่ทะ โดย วีระศักดิ์ ของเดิม*
13. ซุ้มไม้แกะสลักประดับบานประตูและหน้าต่าง โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ / ฐาปนีย์ เครือระยา*
14. ซุ้มป่องปิ๋ว สกุลช่างแม่ทะ โดย วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ / ฐาปนีย์ เครือระยา*
15. ขันดอก ในพิธีกรรมทางศาสนา โดย ฐาปกรณ์ เครือระยา*
16. สาเหตุของการเสื่อมสภาพและการอนุรักษ์โบราณวัตถุประเภทต่างๆ โดย เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ
17. การจัดการภายหลังการอนุรักษ์ โดย ฉัตรแก้ว สิมารักษ์
18. บทสรุป โดย อุษณีย์ ธงไชย
(* คือ ลูกหลานลำปางที่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย)
18. บทสรุป โดย อุษณีย์ ธงไชย
(* คือ ลูกหลานลำปางที่มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย)
ซึ่งเอกสารดังกล่าวนับเป็นเอกสารที่แสดงถึงองค์ประกอบของพุทธศิลป์พื้นบ้านได้กว้างขวาง
ในโอกาสต่อไปหากมีโอกาสจะนำเผยแพร่เนื้อหาบางส่วน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป
ในโอกาสต่อไปหากมีโอกาสจะนำเผยแพร่เนื้อหาบางส่วน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป
แต่ในเบื้องต้นคงต้องรอความเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบโครงการเสียก่อนครับ
................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
พฤหัส 4
กันยา 51
No comments:
Post a Comment