ที่ได้เจอบทความและรูปภาพเกี่ยวกับ "รถม้า" ในเว็บไซต์ รถไฟไทยดอทคอม
ซึ่งเป็นเว็บไซต์คนรักรถไฟที่รวมสาระความรู้เกี่ยวกับรถไฟทั่วประเทศไทย
ที่ผมไปเจอเป็นกระทู้สาระวิชาการ, ข้อมูลเทคนิค และประวัติศาสตร์
เป็นการโพสต์ที่ตั้งชื่อหัวข้อกระทู้ว่า "ภาพจากอดีต : รถม้าลำปาง"
ผู้ตั้งกระทู้ คือ black_express
ที่โพสต์ไว้เมื่อ 01/05/2008 2:02 pm
โดยนำข้อมูลมาจาก
วารสาร “ คนเมือง ” ฉบับพิเศษรายเดือน
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๘
ขอขอบพระคุณ คุณ black_express มา ณ ที่นี้ครับ
ด้านล่างต่อไปนี้ ผมคัดลอกมาทั้งหมด จะมีการเน้นข้อความที่ผมจะแก้ไขเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ
ซึ่งเป็นเว็บไซต์คนรักรถไฟที่รวมสาระความรู้เกี่ยวกับรถไฟทั่วประเทศไทย
ที่ผมไปเจอเป็นกระทู้สาระวิชาการ, ข้อมูลเทคนิค และประวัติศาสตร์
เป็นการโพสต์ที่ตั้งชื่อหัวข้อกระทู้ว่า "ภาพจากอดีต : รถม้าลำปาง"
ผู้ตั้งกระทู้ คือ black_express
ที่โพสต์ไว้เมื่อ 01/05/2008 2:02 pm
โดยนำข้อมูลมาจาก
วารสาร “ คนเมือง ” ฉบับพิเศษรายเดือน
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๘
ขอขอบพระคุณ คุณ black_express มา ณ ที่นี้ครับ
ด้านล่างต่อไปนี้ ผมคัดลอกมาทั้งหมด จะมีการเน้นข้อความที่ผมจะแก้ไขเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ
..........................
สวัสดีครับ...
สวัสดีครับ...
ช่วงสมัยที่ผมเป็นเด็กโรงเรียนประชาบาลอยู่นั้น ทางพ่อ-แม่ซึ่งเป็นครู ได้บอกรับหนังสือนำมาอ่านหลายหัวชื่อด้วยกัน ทั้งรายเดือน รายปักษ์ พอโตขึ้นมาก็อาศัยหนังสือเหล่านี้แหละครับ เป็นแหล่งหัดอ่าน หัดเขียนนอกเวลาเรียนกันเพลินเชียวล่ะ แต่บางเล่มนั้น ทางบ้านได้บอกรับเป็นสมาชิกตั้งแต่ผมยังไม่เกิด พอย้ายบ้านในภายหลัง หนังสือเหล่านี้ก็พลัดหายไปเป็นเชื้อไฟหุงข้าวไปก็มาก จากฝีมือของยายผม พอหยิบทึ้งเอามาเก็บได้เพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น ไม่อยากเก็บเรื่องราวเก่าๆ ที่น่ารู้เอาไว้ดูคนเดียวครับ
โดยเฉพาะเมื่อผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ ลุงบุญเสริม สาตราภัย อดีตช่างภาพฝีมือเอกชาวเชียงใหม่ ในเวปไซต์ล้านนา เกี่ยวกับภาพเก่าๆ ฝีมือตนเองที่ว่า ไม่หวงห้ามถ้าใครจะเอาภาพเก่าๆ ลงไปเผยแพร่ จะได้รู้ ได้เห็นกันทั่วๆ ไม่จมอยู่ในลิ้นชักโต๊ะตัวเองเท่านั้น ก็คิดว่าจะเจริญรอยตามลุงบุญเสริมอีกสักคนหนึ่ง
( แต่ถ้าใครเอาไปอ้างจดทะเบียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หาประโยชน์ใส่ตัวเองล่ะก็ ผมขอแช่งให้เจริญลงๆ สติปัญญามืดทึบทุกชาติๆ ไปด้วย ขอบอก )
สำหรับเรื่องน่ารู้ที่ผมเก็บมาเผยแพร่นี้ จะเป็นสารคดีสั้นประกอบภาพ จากวารสารพิเศษรายเดือน " คนเมือง " ช่วงปี พ.ศ.2497 - 2499 ก่อนผมเกิดด้วยซ้ำไป บางเรื่องก็เคยนำลงในเวปไซต์เราใน version เดิมไปแล้ว เรื่องนี้ก็เช่นกันครับ แต่คิดว่าหลายๆ ท่านอาจเข้ามาเป็นสมาชิกในบ้านนี้ภายหลัง จะได้มีโอกาสได้ชื่นชมอดีตร่วมกันด้วยครับ
.............................
สารคดีสั้นประกอบภาพเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ รถม้าลำปาง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้วครับ
ในฐานะเป็นยานพาหนะรับนักท่องเที่ยวชมตัวเมืองลำปาง จากการโปรโมทของจังหวัดลำปาง ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้ต่อชีวิตของรถม้าลำปางซึ่งเกือบจะสูญหายตามกาลเวลานั้น ออกไปได้อีก และเป็นเสน่ห์ที่ใครๆ นึกถึง เมื่อกล่าวถึงจังหวัดลำปาง จะต้องนึกภาพรถม้าลำปางอันเป็นเอกลักษณ์ควบคู่ไปด้วยเสมอ
เมื่อปี พ.ศ. 2458 สมัยของเจ้าบุญวาทย์มานิต ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 รถยนต์จากยุโรปได้เข้ามามีอิทธิพลในกรุงเทพฯ บรรดาเจ้าขุนมูลนายต่างก็เปลี่ยนจากรถม้าหันมานิยมใช้รถยนต์กันมาก บทบาทของรถม้า รถลากต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าจึงได้กระจายออกไปสู่เมืองหลักของภาคต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวเลิกกิจการไป คงเหลือแต่จังหวัดลำปางแห่งเดียว
การเข้ามาของรถไฟสายเหนือที่มีจุดหมายปลายทางของการเดินทางสิ้นสุดที่สถานีนครลำปางในขณะนั้น ซึ่งเปิดรับขบวนรถโดยสารครั้งแรก เมื่อเถลิงศก วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 หรือวันปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ในครั้งนั้น มีรถม้าที่เรียกกันว่า รถม้าแท็กซี่ คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองลำปาง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนขึ้นไปสู่จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
กิจการรถม้าได้ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเป็นระยะเวลาได้ 34 ปี ได้มีผู้ก่อตั้ง สมาคมล้อเลื่อนจังหวัดลำปาง ขึ้นในปี พ.ศ. 2492 โดยขุนอุทานคดี เป็นผู้ริเริ่มและดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนแรก ที่ได้ร่างกฎระเบียบว่าด้วยสมาคมขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เข้ามาบริหารงานและได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น สมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง ( The Horse Carriage In Lampang Province ) และได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนที่สอง
ในปี พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินให้แก่เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และได้ขอรับรถม้าเข้าไว้ในความอุปถัมภ์ ให้รัฐบาลช่วยเหลือสมาคมรถม้า และตั้งกองทุนให้สมาคมรถม้าอีก 1 กองทุน
ปัจจุบัน รถม้าลำปางมีประมาณ 70 คัน และวิ่งพานักท่องเที่ยวชมเมือง ทั้งกลางวัน และกลางคืน มีจำนวน 50 คัน และที่พิเศษ คือ รถม้าได้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงาน วันรำลึกประวัติศาสตร์รถม้ารถไฟนครลำปาง พร้อมกับเฉลิมฉลองศตวรรษใหม่ปี ค.ศ.2000 ในวันเถลิงที่ 1 เมษายน พ.ศ.2543 และถือเป็นประเพณีถึงทุกวันนี้ครับ
เมื่อปี พ.ศ. 2458 สมัยของเจ้าบุญวาทย์มานิต ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 รถยนต์จากยุโรปได้เข้ามามีอิทธิพลในกรุงเทพฯ บรรดาเจ้าขุนมูลนายต่างก็เปลี่ยนจากรถม้าหันมานิยมใช้รถยนต์กันมาก บทบาทของรถม้า รถลากต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จึงลดน้อยลง รถม้าจึงได้กระจายออกไปสู่เมืองหลักของภาคต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวเลิกกิจการไป คงเหลือแต่จังหวัดลำปางแห่งเดียว
การเข้ามาของรถไฟสายเหนือที่มีจุดหมายปลายทางของการเดินทางสิ้นสุดที่สถานีนครลำปางในขณะนั้น ซึ่งเปิดรับขบวนรถโดยสารครั้งแรก เมื่อเถลิงศก วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 หรือวันปีใหม่ไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ในครั้งนั้น มีรถม้าที่เรียกกันว่า รถม้าแท็กซี่ คอยรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองลำปาง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนขึ้นไปสู่จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
กิจการรถม้าได้ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเป็นระยะเวลาได้ 34 ปี ได้มีผู้ก่อตั้ง สมาคมล้อเลื่อนจังหวัดลำปาง ขึ้นในปี พ.ศ. 2492 โดยขุนอุทานคดี เป็นผู้ริเริ่มและดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนแรก ที่ได้ร่างกฎระเบียบว่าด้วยสมาคมขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เข้ามาบริหารงานและได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น สมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง ( The Horse Carriage In Lampang Province ) และได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมคนที่สอง
ในปี พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินให้แก่เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และได้ขอรับรถม้าเข้าไว้ในความอุปถัมภ์ ให้รัฐบาลช่วยเหลือสมาคมรถม้า และตั้งกองทุนให้สมาคมรถม้าอีก 1 กองทุน
ปัจจุบัน รถม้าลำปางมีประมาณ 70 คัน และวิ่งพานักท่องเที่ยวชมเมือง ทั้งกลางวัน และกลางคืน มีจำนวน 50 คัน และที่พิเศษ คือ รถม้าได้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงาน วันรำลึกประวัติศาสตร์รถม้ารถไฟนครลำปาง พร้อมกับเฉลิมฉลองศตวรรษใหม่ปี ค.ศ.2000 ในวันเถลิงที่ 1 เมษายน พ.ศ.2543 และถือเป็นประเพณีถึงทุกวันนี้ครับ
......................
รถม้าลำปาง*
ภาพและพากษ์โดย วังก์ รัตนานที
[*วารสาร “ คนเมือง ” ฉบับพิเศษรายเดือน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๘]
ห้าแยกพรหมินทร์ นครลำปาง
คุณ ที่รัก
ผมเชื่อว่าภาพชุด “ รถม้าลำปาง ” ที่คุณอยากได้มานานนักหนาแล้ว ก็คงจะสมใจคุณคราวนี้พร้อมๆ กับจดหมายฉบับนี้เอง เพราะผมได้ส่งมาให้คุณ – แยกซองมากับจดหมายฉบับนี้ และเมื่อผนึกซองภาพชุดส่งมาแล้ว ผมก็คิดได้ว่า – ลำพังแต่เพียงคำอธิบายภาพสั้นๆ คงจะไม่ทำให้คุณรู้จัก “ รถม้าลำปาง ” อย่างพอเพียง ผมจึงจดหมายตามมาอีก – และเชื่อว่าคุณคงได้รับพร้อมภาพชุดที่คุณอยากได้
คุณเคยปรารภอยู่เสมอว่า นครลำปางแปลกกว่าจังหวัดอื่นที่คุณเคยได้เที่ยว , ได้เห็นมาทั่วแล้ว... คุณยังฉงนฉงายไม่หายว่าทำไมที่ลำปางจึงยังคงมี “ รถม้า ” อยู่ได้ ท่ามกลางยานยนต์และล้อเลื่อนสมัยใหม่หลากหลายชนิด และ- ตอนนั้น , ผมก็ตอบคุณไม่ได้...
แต่. เดี๋ยวนี้-ผมบอกคุณได้แล้ว...
“ รถม้าลำปาง ” นั้น เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้วมานี่เอง แต่ที่ยังคงมีอยู่ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้ ผมอยากจะเรียนว่าเพราะการสืบมรดก-และการสนับสนุนคนถิ่นเดียวกันของชาวลำปางมากกว่าอย่างอื่นใด ที่หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยริมฝั่งแม่น้ำวัง- ถิ่นกำเนิดพญาพรหมโวหาร รัตนกวีของลานนาไทย หมู่บ้านทั้งสอง- มีครอบครัวของชาว “ รถม้า ” ตั้งอยู่นับร้อยหลังคาเรือน ทุกบ้านทุกครอบครัวยังชีพด้วย “ รถม้า ” เป็นอาชีพหลัก และสีบมรดกติดต่อกันมาไม่ขาดสาย หมู่บ้านทั้งสองนั้น , หากจะเรียกว่า “ นิคมของชาวรถม้าลำปาง ” ก็เห็นจะได้ รถม้าเป็นล้อเลื่อนของชาวลำปางแท้ๆ และก็เพราะเหตุนั้น , ชาวลำปางจึงสนับสนุนคนถิ่นเดียวกันเต็มที่ ลำปาง , ถึงแม้จะมีสามล้อไม่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ แต่ขณะเดียวกัน , รถม้าลำปางก็ยังป็นที่นิยมของผู้โดยสารอยู่ จะเห็นได้จาก “ ปริมาณ ” ของรถม้าได้มีมากขึ้นตามวันเวลา จากเรือนสิบเป็นเรือนร้อย – ซึ่งขณะนี้มีถึง ๒๐๐ กว่าคันแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้ , ไม่ว่าจะย่างก้าวไปในย่านชุมนุมชนตรงไหน สถานีรถไฟ , ตลาดสด , โรงภาพยนตร์ และอื่นๆ จึงมีรถม้าจอดรอคอยรับผู้โดยสารอยู่เป็นทิวแถว
ขอเสียเถิด , คุณอย่าได้คิดว่าอาชีพกรรมกรขับรถม้าเป็นงานที่ต่ำทรามเลย มันเป็นสัมมาอาชีวะ – เป็นงานสุจริต และเป็นสมบัติของคนท้องถิ่นแท้ๆ “ รถม้า ” ไม่ได้ล้างผลาญเงินตราต่างประเทศเหมือนรถยนต์ หรือสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ ขณะเดียวกัน , อาชีพรถม้าก็สามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุข และส่งบุตรธิดาเข้าศึกษาชั้นสูงได้ไม่น้อยงานอย่างอื่นใด
เมื่อพูดถึง “ นิคมของรถม้าลำปาง ” ผมก็อยากจะบอกคุณว่า – ที่ผมเรียกเช่นนั้นไม่ได้เกินความจริงแต่อย่างใดเลย คุณคิดดูซี , หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยซึ่งอยู่แทบฝั่งแม่วังนั้น สองหมู่บ้านนี้มีบ้านนับร้อยครัวเรือน ทุกบ้าน – อย่างน้อยก็มี “ รถม้า ” คันหนึ่ง – ม้าคู่หนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว และด้วยรถคันหนึ่ง – ม้าคู่หนึ่งนั้นเอง ที่ราษฎรสองหมู่บ้านนั้นดำรงชีพอยู่ได้ไม่เดือดร้อน “ นิคมรถม้า ” นอกจากจะเป็นแหล่งรวมของกรรมกรรถม้าแล้ว ที่นั่น , ยังมีโรงงานสร้างและซ่อมส่วนต่างๆ ของรถม้าขึ้นเอง – จากวัตถุซึ่งหาได้จากท้องถิ่นอีกด้วย “ รถม้า ” จึงอาจเรียกได้สนิทปากว่า เป็นผลิตภัณฑ์ของลำปางแท้ๆ
จาก “ โรงงาน ” กลางนิคมของชาวรถม้านั่นเอง ที่ผลิตและสร้างรถม้าออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารคันแล้วคันเล่า และจาก – รถคันหนึ่ง ม้าคู่หนึ่งนั่นแหละ ที่ตระเวนหาเงินรายได้มาเลี้ยงครอบครัว – พ่อแม่ , ลูกเมีย , ได้ตลอดมาและตลอดไป
ด้วยเหตุที่ “ รถม้า ” มีมาด้วยน้ำมือของคนลำปางแท้ๆ อย่างผมเล่ามาแล้ว จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ชาวลำปางจะสนับสนุน “ สมบัติพื้นบ้าน ” ของเขาอย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งนั่นย่อมหมายรวมไปถึงว่า – จนกระทั่งทุกวันนี้ “ รถม้า ” จึงยังคงมีอยู่ ท่ามกลางยานยนต์สมัยใหม่ และผิดกับท้องถิ่นอื่นๆ ที่สมัยหนึ่งก็เคยมี “ รถม้า ” มาเหมือนกัน แต่บัดนี้ , ไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว
จดหมายฉบับนี้ , ผมอยากจะเขียนให้ละเอียดกว่านี้ , ยาวกว่านี้ – แต่เมื่อนึกขึ้นได้ว่าอีกไม่นานนัก , คุณก็จะมาลำปางด้วยตัวเอง... มานั่งรถม้าด้วยตนเอง... ผมจึงคิดว่า , เท่าที่เล่ามาพอสังเขปแล้วนี้ อย่างน้อยที่สุดก็คงพอช่วยให้คุณรู้จัก “ รถม้าลำปาง ” ขึ้นมากกว่าเดิมไม่ใช่หรือ ?
ผมจะรอคอยวันที่คุณจะมาถึงอยู่เสมอ และนอกจากนั้น , เป็นอันหวังได้ว่า ทันทีที่คุณเหยียบชานชาลาสถานีนครลำปาง “ รถม้า ” ก็ได้เทียบคอยคุณอยู่ด้วย เพื่อนำเรามาพบกันดังที่ใจเราปรารถนา
ผมเชื่อว่าภาพชุด “ รถม้าลำปาง ” ที่คุณอยากได้มานานนักหนาแล้ว ก็คงจะสมใจคุณคราวนี้พร้อมๆ กับจดหมายฉบับนี้เอง เพราะผมได้ส่งมาให้คุณ – แยกซองมากับจดหมายฉบับนี้ และเมื่อผนึกซองภาพชุดส่งมาแล้ว ผมก็คิดได้ว่า – ลำพังแต่เพียงคำอธิบายภาพสั้นๆ คงจะไม่ทำให้คุณรู้จัก “ รถม้าลำปาง ” อย่างพอเพียง ผมจึงจดหมายตามมาอีก – และเชื่อว่าคุณคงได้รับพร้อมภาพชุดที่คุณอยากได้
คุณเคยปรารภอยู่เสมอว่า นครลำปางแปลกกว่าจังหวัดอื่นที่คุณเคยได้เที่ยว , ได้เห็นมาทั่วแล้ว... คุณยังฉงนฉงายไม่หายว่าทำไมที่ลำปางจึงยังคงมี “ รถม้า ” อยู่ได้ ท่ามกลางยานยนต์และล้อเลื่อนสมัยใหม่หลากหลายชนิด และ- ตอนนั้น , ผมก็ตอบคุณไม่ได้...
แต่. เดี๋ยวนี้-ผมบอกคุณได้แล้ว...
“ รถม้าลำปาง ” นั้น เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้วมานี่เอง แต่ที่ยังคงมีอยู่ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้ ผมอยากจะเรียนว่าเพราะการสืบมรดก-และการสนับสนุนคนถิ่นเดียวกันของชาวลำปางมากกว่าอย่างอื่นใด ที่หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยริมฝั่งแม่น้ำวัง- ถิ่นกำเนิดพญาพรหมโวหาร รัตนกวีของลานนาไทย หมู่บ้านทั้งสอง- มีครอบครัวของชาว “ รถม้า ” ตั้งอยู่นับร้อยหลังคาเรือน ทุกบ้านทุกครอบครัวยังชีพด้วย “ รถม้า ” เป็นอาชีพหลัก และสีบมรดกติดต่อกันมาไม่ขาดสาย หมู่บ้านทั้งสองนั้น , หากจะเรียกว่า “ นิคมของชาวรถม้าลำปาง ” ก็เห็นจะได้ รถม้าเป็นล้อเลื่อนของชาวลำปางแท้ๆ และก็เพราะเหตุนั้น , ชาวลำปางจึงสนับสนุนคนถิ่นเดียวกันเต็มที่ ลำปาง , ถึงแม้จะมีสามล้อไม่น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ แต่ขณะเดียวกัน , รถม้าลำปางก็ยังป็นที่นิยมของผู้โดยสารอยู่ จะเห็นได้จาก “ ปริมาณ ” ของรถม้าได้มีมากขึ้นตามวันเวลา จากเรือนสิบเป็นเรือนร้อย – ซึ่งขณะนี้มีถึง ๒๐๐ กว่าคันแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้ , ไม่ว่าจะย่างก้าวไปในย่านชุมนุมชนตรงไหน สถานีรถไฟ , ตลาดสด , โรงภาพยนตร์ และอื่นๆ จึงมีรถม้าจอดรอคอยรับผู้โดยสารอยู่เป็นทิวแถว
ขอเสียเถิด , คุณอย่าได้คิดว่าอาชีพกรรมกรขับรถม้าเป็นงานที่ต่ำทรามเลย มันเป็นสัมมาอาชีวะ – เป็นงานสุจริต และเป็นสมบัติของคนท้องถิ่นแท้ๆ “ รถม้า ” ไม่ได้ล้างผลาญเงินตราต่างประเทศเหมือนรถยนต์ หรือสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ ขณะเดียวกัน , อาชีพรถม้าก็สามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุข และส่งบุตรธิดาเข้าศึกษาชั้นสูงได้ไม่น้อยงานอย่างอื่นใด
เมื่อพูดถึง “ นิคมของรถม้าลำปาง ” ผมก็อยากจะบอกคุณว่า – ที่ผมเรียกเช่นนั้นไม่ได้เกินความจริงแต่อย่างใดเลย คุณคิดดูซี , หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยซึ่งอยู่แทบฝั่งแม่วังนั้น สองหมู่บ้านนี้มีบ้านนับร้อยครัวเรือน ทุกบ้าน – อย่างน้อยก็มี “ รถม้า ” คันหนึ่ง – ม้าคู่หนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัว และด้วยรถคันหนึ่ง – ม้าคู่หนึ่งนั้นเอง ที่ราษฎรสองหมู่บ้านนั้นดำรงชีพอยู่ได้ไม่เดือดร้อน “ นิคมรถม้า ” นอกจากจะเป็นแหล่งรวมของกรรมกรรถม้าแล้ว ที่นั่น , ยังมีโรงงานสร้างและซ่อมส่วนต่างๆ ของรถม้าขึ้นเอง – จากวัตถุซึ่งหาได้จากท้องถิ่นอีกด้วย “ รถม้า ” จึงอาจเรียกได้สนิทปากว่า เป็นผลิตภัณฑ์ของลำปางแท้ๆ
จาก “ โรงงาน ” กลางนิคมของชาวรถม้านั่นเอง ที่ผลิตและสร้างรถม้าออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารคันแล้วคันเล่า และจาก – รถคันหนึ่ง ม้าคู่หนึ่งนั่นแหละ ที่ตระเวนหาเงินรายได้มาเลี้ยงครอบครัว – พ่อแม่ , ลูกเมีย , ได้ตลอดมาและตลอดไป
ด้วยเหตุที่ “ รถม้า ” มีมาด้วยน้ำมือของคนลำปางแท้ๆ อย่างผมเล่ามาแล้ว จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ชาวลำปางจะสนับสนุน “ สมบัติพื้นบ้าน ” ของเขาอย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งนั่นย่อมหมายรวมไปถึงว่า – จนกระทั่งทุกวันนี้ “ รถม้า ” จึงยังคงมีอยู่ ท่ามกลางยานยนต์สมัยใหม่ และผิดกับท้องถิ่นอื่นๆ ที่สมัยหนึ่งก็เคยมี “ รถม้า ” มาเหมือนกัน แต่บัดนี้ , ไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว
จดหมายฉบับนี้ , ผมอยากจะเขียนให้ละเอียดกว่านี้ , ยาวกว่านี้ – แต่เมื่อนึกขึ้นได้ว่าอีกไม่นานนัก , คุณก็จะมาลำปางด้วยตัวเอง... มานั่งรถม้าด้วยตนเอง... ผมจึงคิดว่า , เท่าที่เล่ามาพอสังเขปแล้วนี้ อย่างน้อยที่สุดก็คงพอช่วยให้คุณรู้จัก “ รถม้าลำปาง ” ขึ้นมากกว่าเดิมไม่ใช่หรือ ?
ผมจะรอคอยวันที่คุณจะมาถึงอยู่เสมอ และนอกจากนั้น , เป็นอันหวังได้ว่า ทันทีที่คุณเหยียบชานชาลาสถานีนครลำปาง “ รถม้า ” ก็ได้เทียบคอยคุณอยู่ด้วย เพื่อนำเรามาพบกันดังที่ใจเราปรารถนา
เหมือนเคยตลอดไป
เพื่อนสนิทของคุณ
.......................
ที่ลำปางในปัจจุบัน ( หรือเขลางคนครในอดีต ) ทุกหนทุกแห่งบนท้องถนน ทั้งคนท้องถิ่นและอาคันตุกะไม่มีวันจะหลีกรถม้าได้พ้น ไม่ว่าจะเป็นตรอก , ซอก , ซอย , หรือถนนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งสถานีรถไฟ , ตลาดสด , และโรงภาพยนตร์ อันเป็นย่านชุมนุมชน จะมีรถม้าจอดรอรับผู้โดยสารอยู่เป็นทิวแถว รถม้าจึงได้กลายเป็น “ สัญลักษณ์ “ อย่างหนึ่งของลำปาง เพราะเกือบจะกล่าวได้ว่าในเมืองไทย , ไม่มีรถม้าที่ไหน “ เหลืออยู่ ” อีกแล้ว
ชีวิตประจำวันของคนรถม้าลำปางเป็นชีวิตที่น่าเห็นใจ เพราะต้อง “ ตื่นก่อนและนอนทีหลัง “ ตามแบบฉบับของผู้ที่เกิดมาเพื่อรับใช้ประชาชน ชาวรถม้าที่นำรถออกตระเวนรับส่งผู้โดยสารเป็นประจำวันนั้น ต้องตื่นแต่ก่อนไก่และต้องนึกถึงท้องของสัตว์คู่ยากก่อนท้องของตัวเอง ฉะนั้นม้าทุกตัวก่อนจะนำไปเทียมรถจะต้องป้อนอาหารให้อิ่ม เพราะม้าก็เช่นเดียวกับกองทัพซึ่งนโปเลียนบอกว่าต้อง “ เดินด้วยท้อง ”
ลำปางก็เหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย มีรถยนต์ ( รถเก๋งโอ่อ่าและจิ๊ปหลังสงคราม ) มีสามล้อ , มีจักรยาน ( ทั้งติดเครื่องและล้อถีบ ) อยู่มากมาย แม้กระนั้นแล้ว “ รถม้า ” ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้โดยสารอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่า , ชาวลำปางรู้อยู่ท่วมหัวใจว่า รถม้าเป็นสมบัติของท้องถิ่น , เป็นอาชีพของชาวลำปางเอง ที่หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยแทบฝั่งแม่วังนั้น เป็นศูนย์กลางของรถม้า ผลิตขึ้นที่นั่น , มีโรงงานซ่อมที่นั่น , และพูดได้ว่าเป็นหมู่บ้าน “ รถม้า ” ล้วนๆ ทุกหลังคาเรือนยังชีพอยู่ด้วย “ รถม้า ” ทั้งนั้น
ออกจากบ้านแต่อรุณไม่ฉาบขอบฟ้า กลับมาก็ย่ำสนธยา โดยที่ทั้งคนขับและม้าต่างก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาตลอดวัน พอกลับถึงบ้าน , เจ้าของก็จะนำ “ นักวิ่งทนที่ไม่มีวันตับแตกตาย ” เดินวนเวียนไปรอบๆ ลานบ้านอันร่มรื่น เพื่อให้รับลมเย็น – จนเหงื่อแห้งแล้วพาไปอาบน้ำ จากนั้นก็ถึงเวลาอาหารมื้อเย็น – หมดภาระไปวันหนึ่ง รถม้าทุกคันเจ้าของจะมีม้าไว้สองตัวเพื่อสับเปลี่ยนกัน – “ ไอ้ผ่าน ” วิ่งรอบกลางวัน – ตกกลางคืนก็ได้พักและตกเป็นหน้าที่ของ “ ไอ้เมฆ ” ที่จะต้องวิ่งทนแทนบ้าง
ที่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัย อันเป็นนิคมของชาว “ รถม้า ” ทุกหลังคาเรือนจะมีรถม้าเป็นสมบัติส่วนตัว... มีบ้านแบบไตยวน ( คนเมือง ) เป็นที่พักอาศัย... มีลูกหลานสืบสกุลและรับมรดก “ รถม้า ” ผู้ชายก็ทำหน้าที่สารถี... ผู้หญิงรับภาระทางบ้าน... ที่ยังเด็กและวัยรุ่นก็ช่วยจัดหาอาหารให้ม้า หรือฝึกหัดที่จะรับหน้าที่แทนผู้ใหญ่ต่อไป ด้วยประการฉะนี้เอง , รถม้าลำปางจึงยังคงมีอยู่ – และจะต้องมีอยู่ตลอดไป ผิดกับท้องถิ่นอื่นซึ่งแม้บางครั้งจะเคยมี – แต่บัดนี้แม้แต่ซากก็ไม่มีเหลือแล้ว...
ชีวิตประจำวันของคนรถม้าลำปางเป็นชีวิตที่น่าเห็นใจ เพราะต้อง “ ตื่นก่อนและนอนทีหลัง “ ตามแบบฉบับของผู้ที่เกิดมาเพื่อรับใช้ประชาชน ชาวรถม้าที่นำรถออกตระเวนรับส่งผู้โดยสารเป็นประจำวันนั้น ต้องตื่นแต่ก่อนไก่และต้องนึกถึงท้องของสัตว์คู่ยากก่อนท้องของตัวเอง ฉะนั้นม้าทุกตัวก่อนจะนำไปเทียมรถจะต้องป้อนอาหารให้อิ่ม เพราะม้าก็เช่นเดียวกับกองทัพซึ่งนโปเลียนบอกว่าต้อง “ เดินด้วยท้อง ”
ลำปางก็เหมือนจังหวัดอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย มีรถยนต์ ( รถเก๋งโอ่อ่าและจิ๊ปหลังสงคราม ) มีสามล้อ , มีจักรยาน ( ทั้งติดเครื่องและล้อถีบ ) อยู่มากมาย แม้กระนั้นแล้ว “ รถม้า ” ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้โดยสารอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่า , ชาวลำปางรู้อยู่ท่วมหัวใจว่า รถม้าเป็นสมบัติของท้องถิ่น , เป็นอาชีพของชาวลำปางเอง ที่หมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยแทบฝั่งแม่วังนั้น เป็นศูนย์กลางของรถม้า ผลิตขึ้นที่นั่น , มีโรงงานซ่อมที่นั่น , และพูดได้ว่าเป็นหมู่บ้าน “ รถม้า ” ล้วนๆ ทุกหลังคาเรือนยังชีพอยู่ด้วย “ รถม้า ” ทั้งนั้น
ออกจากบ้านแต่อรุณไม่ฉาบขอบฟ้า กลับมาก็ย่ำสนธยา โดยที่ทั้งคนขับและม้าต่างก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาตลอดวัน พอกลับถึงบ้าน , เจ้าของก็จะนำ “ นักวิ่งทนที่ไม่มีวันตับแตกตาย ” เดินวนเวียนไปรอบๆ ลานบ้านอันร่มรื่น เพื่อให้รับลมเย็น – จนเหงื่อแห้งแล้วพาไปอาบน้ำ จากนั้นก็ถึงเวลาอาหารมื้อเย็น – หมดภาระไปวันหนึ่ง รถม้าทุกคันเจ้าของจะมีม้าไว้สองตัวเพื่อสับเปลี่ยนกัน – “ ไอ้ผ่าน ” วิ่งรอบกลางวัน – ตกกลางคืนก็ได้พักและตกเป็นหน้าที่ของ “ ไอ้เมฆ ” ที่จะต้องวิ่งทนแทนบ้าง
ที่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัย อันเป็นนิคมของชาว “ รถม้า ” ทุกหลังคาเรือนจะมีรถม้าเป็นสมบัติส่วนตัว... มีบ้านแบบไตยวน ( คนเมือง ) เป็นที่พักอาศัย... มีลูกหลานสืบสกุลและรับมรดก “ รถม้า ” ผู้ชายก็ทำหน้าที่สารถี... ผู้หญิงรับภาระทางบ้าน... ที่ยังเด็กและวัยรุ่นก็ช่วยจัดหาอาหารให้ม้า หรือฝึกหัดที่จะรับหน้าที่แทนผู้ใหญ่ต่อไป ด้วยประการฉะนี้เอง , รถม้าลำปางจึงยังคงมีอยู่ – และจะต้องมีอยู่ตลอดไป ผิดกับท้องถิ่นอื่นซึ่งแม้บางครั้งจะเคยมี – แต่บัดนี้แม้แต่ซากก็ไม่มีเหลือแล้ว...
เพราะเหตุที่ “ รถม้า ” ต้องอาศัยแรงม้าจริงๆ ไม่ใช่ “ แรงม้า ” ที่เป็นเครื่องยนต์เยี่ยงรถยนต์สมัยใหม่ ดังนั้น , เมื่อว่างจากงานประจำวันหน้าที่ของ “ คนทางบ้าน ” ก็คือการเตรียมอาหารสำหรับม้าให้พรักพร้อม อาหารประจำอันเปรียบประหนึ่ง “ น้ำมันเชื้อเพลิง ” ของม้ามีฟางแห้งที่หั่นหยาบๆ ผสมกับรำอ่อนคลุกน้ำ เพื่อให้กินสะดวก , ย่อยง่าย , และอิ่มทน งานจัดอาหารม้าประจำวันเช่นนี้ “ คนทางบ้าน ” ซึ่งบางทีก็ลูกหรือหลานก็รับเอาไปจัดเตรียมไว้ไม่มีขาดตกบกพร่อง เพราะเป็น “ หน้าที่ ” อย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน...
กลางหมู่บ้านอันเป็น “ นิคม ” ของรถม้าลำปางนั้น มีโรงงานสร้างและซ่อมรถม้าอยู่เป็นประจำ ส่วนประกอบทุกชิ้นล้วน Made in Lampang ทั้งสิ้น โดยมีนายช่างผู้ชำนาญและผ่านการประกอบอาชีพขับขี่ “ รถม้า ” มาแล้วนับสิบปี เป็นผู้อำนวยการและดำเนินงานสร้าง – ซ่อมส่วนประกอบทุกชิ้นของรถม้าขึ้นมาด้วยมือของเขาเองทั้งสิ้น รถม้าทุกคันที่กระจายอยู่ทั่วเวียงลำปาง รับผู้โดยสารเที่ยวแล้วเที่ยวเล่านับเป็นเวลา ๔๐ ปีเศษมาแล้ว ก็ล้วน “ ผลิต ” จากหมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยนี่เอง...
เมื่อประกอบเป็นตัวรถแล้ว... มีม้าใหม่ไม่เคยเทียมรถและวิ่งทนมาก่อน ก็จำเป็นต้องฝึกหัดให้มันคุ้นคนและท้องถนนเสียก่อน โดยจัดเทียมรถมีสารถีและผู้โดยสาร ( สมมุติ ) แล้วมีคนจูงบังเหียนพามันออกวิ่งวนเวียนไปตามถนนสายต่างๆ ฝึกกันอยู่เช่นนั้น , วันแล้ววันเล่าจนกว่าม้าจะคุ้นกับ “ งาน ” ของมันและเข้าใจ “ สัญญาณ ” จากนายสารถีเพียงพอ จึงจะออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารหากินได้ต่อไป ไม่ใช่ว่ามีม้าเอาเข้าเทียมรถแล้วก็ใช้ได้ ชีวิตของ “ รถม้าลำปาง ” เริ่มต้น และเป็นมาเช่นนี้เอง.
................................
ผู้สื่อข่าว
กลางหมู่บ้านอันเป็น “ นิคม ” ของรถม้าลำปางนั้น มีโรงงานสร้างและซ่อมรถม้าอยู่เป็นประจำ ส่วนประกอบทุกชิ้นล้วน Made in Lampang ทั้งสิ้น โดยมีนายช่างผู้ชำนาญและผ่านการประกอบอาชีพขับขี่ “ รถม้า ” มาแล้วนับสิบปี เป็นผู้อำนวยการและดำเนินงานสร้าง – ซ่อมส่วนประกอบทุกชิ้นของรถม้าขึ้นมาด้วยมือของเขาเองทั้งสิ้น รถม้าทุกคันที่กระจายอยู่ทั่วเวียงลำปาง รับผู้โดยสารเที่ยวแล้วเที่ยวเล่านับเป็นเวลา ๔๐ ปีเศษมาแล้ว ก็ล้วน “ ผลิต ” จากหมู่บ้านพรหมินทร์และสิงห์ชัยนี่เอง...
เมื่อประกอบเป็นตัวรถแล้ว... มีม้าใหม่ไม่เคยเทียมรถและวิ่งทนมาก่อน ก็จำเป็นต้องฝึกหัดให้มันคุ้นคนและท้องถนนเสียก่อน โดยจัดเทียมรถมีสารถีและผู้โดยสาร ( สมมุติ ) แล้วมีคนจูงบังเหียนพามันออกวิ่งวนเวียนไปตามถนนสายต่างๆ ฝึกกันอยู่เช่นนั้น , วันแล้ววันเล่าจนกว่าม้าจะคุ้นกับ “ งาน ” ของมันและเข้าใจ “ สัญญาณ ” จากนายสารถีเพียงพอ จึงจะออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารหากินได้ต่อไป ไม่ใช่ว่ามีม้าเอาเข้าเทียมรถแล้วก็ใช้ได้ ชีวิตของ “ รถม้าลำปาง ” เริ่มต้น และเป็นมาเช่นนี้เอง.
................................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
จันทร์ 1
กันยา 51
No comments:
Post a Comment