บริเวณประตูม้า สภาพก่อนรื้อศาลและย้ายรูปปั้นม้าลงมา
"เทศบาลนครลำปาง จับมือ กรมศิลปากร ขุดค้นกำแพงเมืองเขลางค์นคร ศึกษาชั้นวัฒนธรรม ทางโบราณคดี"
นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 จังหวัดน่าน กล่าวว่า
ได้เริ่มดำเนินการตามโครงการดังกล่าว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550
โดยได้ขุดตรวจชั้นดินและโครงสร้างกำแพงเมือง จำนวน 4 หลุม
และขุดทดสอบศึกษาชั้นวัฒนธรรม จำนวน 5 หลุม จากการขุดค้นในส่วนของกำแพงเมือง
ป้ายรายละเอียดโครงการ
พบว่ากำแพงเมืองลำปาง อาจจะสร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
และหลังจากนั้นได้มีการซ่อมแซมหรือบูรณะครั้งใหญ่อีกอย่างน้อย
ประมาณ 2 ครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21
จากเอกสารประวัติศาสตร์ความสำคัญ บทบาทของเขลางค์นคร
มีกิจกรรมมากมาย ก่อนที่จะลดบทบาทลง
และย้ายเมืองไปฟากตะวันออกของแม่น้ำวังในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 24)
ในส่วนของการขุดทดสอบชั้นวัฒนธรรม จำนวน 5 หลุม พบว่า
เมืองลำปางในอดีตหรือเมือง เขลางค์นคร มีการอยู่อาศัยมาอย่างน้อย ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 โดยในสมัยนั้นน่าจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมแบบทวารวดี จากภาคกลาง
คือ วัฒนธรรมหริภุญไชย ในภาคเหนือ แถบลำพูน ตอนล่างของเชียงใหม่ ลำปาง แพร่
ซึ่งทราบได้จากการขุดพบโบราณวัตถุ เช่น
เศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อไม่แกร่ง เคลือบด้วยน้ำดินสีขาวเขียนลายด้วยสีแดงหรือดำ
และเคลือบด้วยน้ำดินสีแดง เขียนลายด้วยสีขาว นอกจากนี้ยังพบ ตะคันดินเผา และตุ๊กตาดินเผา
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21
ลักษณะการขุดแต่งทางโบราณคดี ที่แทบไม่เคยจะมีการปฏิบัติการแบบนี้เลยในเมืองลำปาง!!!
การขุดแต่งทำสองฟากฝั่งของประตูม้า
พบภาชนะดินเผาแบบเนื้อแกร่ง (Stone ware) จากทั้งแหล่งผลิตในท้องถิ่น
และแหล่งผลิตในดินแดนใกล้เคียง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24
แม้จะลดความสำคัญลง แต่ยังพบกิจกรรมของผู้คนสม่ำเสมอ
จนกระทั่งมีภัยสงครามเนืองๆ จึงต้องย้ายเมืองจากฟากตะวันตก
มายังฟากตะวันออกของแม่น้ำวัง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24ข้อมูลจาก เว็ฐไซต์สำนักงานเทศบาลนครลำปาง
http://www.lampangcity.com/
.............................
ข่าวนานแล้วครับ แต่พึ่งไปเปิดเจอข้อมูลเลยนำมาให้ทุกๆท่านรับทราบ
ผู้สื่อข่าว
on Lampang : เปิดโลกลำปาง
พฤหัส 20
กันยา 50
2 comments:
ฮักลำปาง แต้ แต้เจ้า
อยากทราบว่า คุณ v4us ได้ที่อยู่ เว็บบล็อกนี้จากไหนหรือครับ จะได้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเว็บบล็อกต่อไป
Post a Comment