วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Friday, December 22, 2006

สรุปข่าวสร้างสรรค์ในลำปางที่พอจะมีอยู่บ้าง (2)


ผู้เข้าร่วมเสวนา (จากซ้ายไปขวา) ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, ศักดิ์สิทธิ์ คำหลวง, สุพจน์ สุขกลัด, ชาติชาย เชษฐสุมน [ภาพโดย ทัศนีย์ ขัดสืบ 21 ธันวา 49]


"โลกของโซฟี(Sopie's world) โดย โยสไตน์ กอร์เดอร์" ที่ อ.ศักดิ์สิทธิ์ คำหลวง กล่าวถึง [ภาพจากhttp://www.tarad.com/kledthaishopping/product.detail.php?lang=th&id=145309#]


"หนังสือชุดของคาลิล ยิบราน" นักเขียนที่ อ.สุพจน์ สุขกลัด กล่าวถึงว่า อ่านให้แรงบันดาลใจในยามที่ท้อแท้ [ภาพจาก http://www.saengdao.com/promotion.html]

พฤหัสบดี 21 ธันวาคม 49 เวลา 17.30 น. "สะดวกเสวนา ครั้งที่7 ...อ่านคน อ่านสื่อ อ่านหนังสือ อ่านชีวิต" โดย กลุ่มล้านคำลำปางและเพื่อน จบลงไปแล้วกับ สะดวกเสวนา ครั้งที่ 7 นำเสวนา ด้วยอาจารย์นักอ่านทั้งสามท่าน 3 สถาบัน คือ อ.ศักดิ์สิทธิ์ คำหลวง LCCT, อ.สุพจน์ สุขกลัด จาก ม.โยนก, ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน จาก ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และได้รับเกียรติจาก อ.ปีเตอร์ คอลลี่ย์ อาจารย์ฝรั่งและศิลปิน เพื่อน อ.สุพจน์ มาร่วมตั้งคำถามกันด้วย เริ่มต้นด้วย อ.ศักดิ์สิทธิ์ หรือพี่เชน ชูประเด็น ดวงตาที่เป็นสัญลักษณ์ของ"การเห็น" "การเรียนรู้" ในบริบทสากล ก่อนจะเชื่อมโยงมาถึง การเรียนรู้ในบริบทไทย ที่ผ่าน "บ้าน-วัด-โรงเรียน"อันเป็นที่กังขาว่า ระบบดังกล่าว ตายแล้วหรือไม่ และให้ความสำคัญไปที่ แก่นของศาสนาพุทธ / ขณะที่ อ.สุพจน์ กล่าวถึงความขัดแย้งในตัวเองผ่านประสบการณ์ชีวิต ในเชิงอุดมคติผ่านความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กลายมาเป็น ความไร้แก่นสารในองค์กรธุรกิจบันเทิง ซึ่งถือเป็น "8ปี ที่ ว่างเปล่าของชีวิต" ขณะที่วีรบุรุษในใจ มาจากการอ่านหนังสือ คือ อับราฮัม ลินคอล์น : Abraham Lincoln (ค.ศ.1809-1865) ประธานาธิบดีอเมริกา, ดังเต้ : Dante Alighieri (ค.ศ.1265-1321) กวีชาวอิตาเลียน/ ดร.ชาติชาย หรือพี่โด่ง มองว่า เราไม่ได้อ่านเฉพาะหนังสือ แต่เราอ่านคน อ่านพฤติกรรม และสิ่งที่เป็นนามธรรม มาก่อนที่เราจะอ่านหนังสือด้วย


"เจ้าชายน้อย โดย อังตวน เดอ แซงเตก ซูเปรี"หนังสือน้อยๆ ที่ ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน(พี่โด่ง) แนะนำ แล้ว อ.ศักดิ์สิทธิ์ยังชี้ให้เห็นความลึกซึ้งของปรัชญา เอ๊กซิสฯ ที่แฝงอยู่ด้วย
[จาก http://www.prachatai.com/05web/upload/column/library/20051217_1.jpg]

"เพื่อนสนิท" สร้างจากบทประพันธ์ "ไปรษณีย์สีแดง"ของอภิชาต เพชรลีลา แต่พัวพันกับบทประพันธ์อมตะ "เจ้าชายน้อย"กะเค้าด้วย
[ภาพจาก http://www.bornproject.com/filmclub/review.php?idreview=107010403]


Professor Peter Colley จาก Texas Wesleyan University แลกเปลี่ยนความคิดเห็น [ภาพโดย ทัศนีย์ ขัดสืบ 21 ธันวา 49]


บรรยากาศงานเสวนา ท่ามกลางความคึกคักของวัยเยาว์(1) [ภาพโดย ทัศนีย์ ขัดสืบ 21 ธันวา 49]


บรรยากาศงานเสวนา ท่ามกลางความคึกคักของวัยเยาว์(2) [ภาพโดย ทัศนีย์ ขัดสืบ 21 ธันวา 49]


บรรยากาศงานเสวนา ท่ามกลางความคึกคักของวัยเยาว์(3) [ภาพโดย ทัศนีย์ ขัดสืบ 21 ธันวา 49]

ยกสอง พี่เชนเริ่มด้วยหนังสือ "Sophies's world หรือ โลกของโซฟี" แต่งโดย โยสไตน์ กอร์เดอร์ / อ.สุพจน์ ยกประสบการณ์ ที่หนังสือของ คาลิล ยิบราลให้แรงบันดาลใจ ด้วยประโยคที่ว่า "ความมืด คือ รุ่งอรุณที่รอการกำเนิด" หรือ คำสอนที่จะทำยังไงให้อยู่กับมิตรไม่ให้เป็นศัตรูที่ว่า "เสาวิหารถ้าใกล้ชิดไปก็ไม่งาม และไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น" / พี่โด่ง หยิบ "เจ้าชายน้อย" เล่าถึง จินตนาการที่ปรากฏและซ่อนอยู่ แนะให้อ่านระหว่างประโยค อ่านระหว่างบรรทัด
ยกสาม พี่เชน แบ่งประเภทหนังสือเป็น 3 อย่างคือ ประเภทฮาว-ทู ที่เป็นชุดประสบการณ์ ประเภทตำรา ที่หนักภาษาทางวิชาการ อาจจะแห้งแล้งไปบ้าง และประเภทวรรณกรรม / อ.สุพจน์ ยกสถิติมาให้ดูว่าปีนึง คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม สิงค์โปร์ 17 เล่ม อเมริกา 50 เล่ม และยังชี้ให้เห็นว่า คนไทยชอบฟัง ชอบดูทีวี ทำให้ขาดวิจารณญาณ เชื่อถือในข่าวลือ / พี่โด่ง มองว่า เราไม่สอนให้อ่านสื่อ บางอย่างที่ไม่ดีก็อาจนำมาเป็นประโยชน์ได้ เช่น ในน้ำเน่า เรายังสามารถช้อนลูกน้ำเอามาทำประโยชน์ได้ แต่เราต้องเรียนรู้วิธีช้อน ว่าจะทำอย่างไรด้วย

2 ชั่วโมงผ่านไป เป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยน อ.ชลาพันธุ์ อุปกิจ แลกเปลี่ยนเรื่องสื่อในฐานะสื่อสารมวลชน มีการพาดพิงถึง พฤติกรรมสีเทาของสื่อในเมืองหลวงไว้อย่างน่าสนใจ / คุณทัดเทพ หมอสมบูรณ์ เสริมพี่โด่งว่า ชอบใจที่พูดถึงการติดปัญญาให้นักศึกษา หากการเสพสื่อเหมือนกับกินข้าว ก็เปรียบได้กับที่ว่า เราจะกินเพื่ออยู่ หรืออยู่เพื่อกิน นอกจากนั้นก็ยังมีเสียงที่หลากหลายจากเยาวชน เข้ามาแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ เช่น "เรื่องเจ้าชายน้อย น่าจะเป็นหนังสือที่ให้ผู้ใหญ่อ่านเพื่อรู้ว่าควรจะทำยังไงกับเด็ก" "หนังสือราคาแพงเกินไป" "หนังสือบางคราเนื้อหาก็ไม่ชวนอ่าน" "ห้องสมุดน่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะทางปัญญาให้บ้านเมืองได้มากกว่าที่เป็นอยู่"

การเสวนาจบลงที่เวลาประมาณ 21.00 น. อย่างเต็มอิ่ม อย่างไรก็ตาม อ.ปีเตอร์ ยังทิ้งท้าย ท้าทายได้ว่า น่าจะมีการเสวนาอย่างนี้อีก แต่เปลี่ยนผู้ร่วมเสวนา ให้มี พระสงฆ์ และชาวนาระดับรากแก้ว มาแลกเปลี่ยน ซึ่งน่าจะได้มุมมองที่น่าสนใจแตกต่างออกไป...

ผู้สื่อข่าว on Lampang : เปิดโลกลำปาง
ศุกร์ 22 ธันวา 49

3 comments:

Anonymous said...

WEll done krap

Anonymous said...

ดีค่ะ...
อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนับสนุน
ให้ลำปางเติบโตต่อไป
: )

warmraw said...

ยินดีต้อนรับครับ,
ถ้าเป็นไปได้อยากทราบว่า ท่านผู้อ่านทราบที่อยู่ ของเว็บไซต์แห่งนี้จากที่ใด เพื่อประโยชน์ในการขยายฐานผู้อ่านให้มากขึ้นเพื่อการเผยแพร่ และสร้างสรรค์ที่ดีต่อไปครับ

ขอบคุณครับ
บรรณาธิการ on lampang