วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Sunday, August 2, 2009

โครงการยุววิจัยฯลำปาง ออนแอร์ไทยทีวีเช้าวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหา


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การตัดต่อเพื่อทำหนังสารคดี


อาจารย์ชุติมา คำบุญชู หัวหน้าโครงการฯ


ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ แห่งสถาบันรามจิตติ


ในรายการทีวีไทยสุดสัปดาห์ ช่องทีวีไทย เวลา 08.00-09.00 น. ได้มีสกู๊ปหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลำปาง ได้มาโฟกัสที่ โครงการโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม (โครงการอยู่ช่วงเวลาประมาณ 08.48-08.52 น.) ทำให้เราได้ติดตามไปค้นหารายละเอียดของโครงการมาฝากกัน ตามข่าวดังนี้

โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลำปาง
มีเว็บไซต์อยู่ที่ http://yuvavijailp.igetweb.com/
มีสโลแกนว่า "พลิกฟื้นประวัติศาสตร์ ประกาศอัตลักษณ์ ประจักษ์ภูมิปัญญา เสริมคุณค่ายุววิจัย"
มีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยและโจทย์การวิจัยภายใต้โครงการ ชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
2. เพื่อประสานงานติดตามและสนับสนุนให้เยาวชนทำวิจัยในแนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สร้างความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น ภายใต้ชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
3. เพื่อจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และการถอดบทเรียนระหว่างเยาวชน นักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ ในชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
4. เพื่อประสานงานให้เกิดการส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและชุมชน ในการเป็นกลไกสนับสนุนการวิจัยให้กับเยาวชน
5. เพื่อสังเคราะห์และประมวลองค์ความรู้ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวิจัยของเยาวชน และด้านการพัฒนาท้องถิ่น
หัวหน้าโครงการคือ อาจารย์ชุติมา คำบุญชู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

มีรายละเอียดข่าวจากแหล่งอื่นๆดังนี้

สกว.จัดอบรมทำหนังดึงยุววิจัยทั่วลำปางเข้าอบรม
http://www.lpru.ac.th/lpruboard/index.php?topic=234.0


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจัดการอบรมยุววิจัยให้เด็กสร้างหนังด้วยตนเองเน้นทำสารคดีเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ ดึงเยาวชนเครือข่ายยุววิจัยทั่วจังหวัดลำปางร่วมอบรม ๒ วันเต็ม

เมื่อวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยการให้การสนับสนุนไปยังสถาบันรามจิตติและ Child Watch ภาคเหนือจัดโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดยมีดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดโครงการดังกล่าว โดยโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เป็นโครงการหนึ่งของชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานติดตามและสนับสนุนให้เยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดลำปาง ทำวิจัยในแนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ การถอดบทเรียนระหว่างเยาวชน นักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ โดยมีการประสานงานกันเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและชุมชน ตลอดจนเป็นกลไกสนับสนุนการวิจัยให้กับเยาวชน เพื่อสังเคราะห์และประมวลองค์ความรู้อันจะนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวิจัยของเยาวชน และด้านการพัฒนาท้องถิ่น

นอกจากนี้ในส่วนของการจัดโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปางหลักสูตรโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรมดังกล่าว เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากกระทรวงวัฒนธรรม สถาบันรามจิตติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันรามจิตติในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน และการศึกษา ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ได้พัฒนาหลักสูตร “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” ร่วมกับโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสกว. ขึ้นมา

โดยมีกรอบความคิด คือ การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยของเยาวชนในมิติประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในด้านการผลิตสื่อเผยแพร่ และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อเผยแพร่ของยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในรูปของ “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเครือข่ายยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ใน ๒ พื้นที่ คือพื้นที่จังหวัดลำปาง และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

และในพื้นที่จังหวัดลำปางนั้นมีเครือข่ายยุวิจัย รวมทั้งสิ้น ๒๔ โรงเรียน มีโครงการย่อยรวม ๖๙ โครงการ รวมจำนวนยุววิจัยทั้งสิ้น ๒๕๘ คน และครูที่ปรึกษา ๖๑ คน ได้จัดการอบรมออกเป็น ๒ รุ่น รุ่นแรก ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ มี ยุววิจัยผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๕๐ คน ครูที่ปรึกษา จำนวน ๒๐ คน รุ่นที่สองมีการดำเนินงานระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ มียุววิจัยผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๗๐ คน ครูที่ปรึกษา จำนวน ๓๐ คน

ในขณะที่ นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธีเปิดกล่าวว่า กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการวิจัยของเยาวชนเป็นการเรียนรู้เรื่องราวเพื่อให้รู้จักความเป็นมาของตนเองและท้องถิ่น เป็นการศึกษาหาความรู้และสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างอัตลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นเก่ากับเยาวชนและระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทำให้ชุมชนท้องถิ่นกลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของโรงเรียนและนักเรียน

และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างกันโดยมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือเชื่อมร้อยสายสัมพันธ์ระหว่างกัน “การอบรม สร้างสรรค์ เติมแต่ง สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง” นับว่าเป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างยุววิจัยของจังหวัดลำปางผู้มีความรักความผูกพันในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง กับผู้ใหญ่ใจดีผู้ปรารถนาจะสานความรู้และข้อค้นพบของยุววิจัย ไปสู่นวัตกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยของยุววิจัยสู่สังคมภายนอกด้วยภาพยนตร์สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง

ทั้งนี้ การอบรมโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “ทำไมต้องทำหนังสารคดี” โดย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์, นายสรรชัย หนองตรุด, นายธนาวัฒน์ วยาจุต ทีมวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ ส่วนหลักสูตรในการอบรมทั้ง ๒ วันประกอบด้วย

กิจกรรม : ร้อยเรียง เขียนความ กิจกรรม “จากแรงบันดาลใจสู่การคิดเป็นภาพ” เทคนิคการวางโครงเรื่อง เขียนบท และวางแผนการถ่ายทำ เทคนิคการถ่ายทำ : รู้จักกล้อง มุมมอง การลงมือถ่ายทำสารคดีสั้น การพัฒนาโครงเรื่องสู่สตอรี่บอร์ด การตัดต่อ รู้จักโปรแกรม การใช้งาน กระบวนการทำงานเชิงเทคนิค การพัฒนาสตอรี่บอร์ดของกลุ่มวิจัยตนเอง ตามหัวข้อโครงการวิจัย เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีข่าวอื่นที่น่าสนใจอีกคือ
สวช. –สกว. จับมือเปิดตัว “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” หวังหนุนเยาวชนสร้างสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เสริมสร้างภูมิคุ้มทางวัฒนธรรม
....................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 2
สิงหา 52

No comments: