แขกทยอยเข้ามาทางบันไดนาคหน้าวัด จะสังเกตเห็นชาวบ้านชุมชนปงสนุกตั้งสำหรับข้าวแลงเลี้ยงรับรองผู้มาเยือน
วิหารพระเจ้าพันองค์ และพระธาตุศรีจอมไคลต้องแสงยามเย็น
ดร.นิมิตร จิวะสันติการ กล่าวต้อนรับผู้แทนจากยูเนสโก ในพิธีมอบรางวัลจากยูเนสโก 16 พฤศจิกายน 2551
การแสดงละครประยุกต์จากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ในชื่อว่า "การแสดงละครฟ้อน เรื่อง เจ้าคัทธนกุมาร" ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารของวัดภูมินทร์จ.น่าน ที่ว่าด้วยเรื่องชาดกเจ้าคัทธนกุมาร
กลุ่มนักดนตรีจากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ บรรเลงขับกล่อมตั้งแต่หัววัน
ปล่อยโคมหลังจากเสร็จพิธี
วิหารพระเจ้าพันองค์และพระธาตุศรีจอมไคลยามต้องแสงไฟ
คำกล่าว
การแสดงละครประยุกต์จากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ในชื่อว่า "การแสดงละครฟ้อน เรื่อง เจ้าคัทธนกุมาร" ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารของวัดภูมินทร์จ.น่าน ที่ว่าด้วยเรื่องชาดกเจ้าคัทธนกุมาร
กลุ่มนักดนตรีจากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ บรรเลงขับกล่อมตั้งแต่หัววัน
ปล่อยโคมหลังจากเสร็จพิธี
วิหารพระเจ้าพันองค์และพระธาตุศรีจอมไคลยามต้องแสงไฟ
คำกล่าว
พิธีมอบรางวัล การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
องค์การยูเนสโก ประจำปี 2551
Award of Merit
วัดปงสนุก
ณ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.00 น.
คำกล่าวโดย ดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท
ที่ปรึกษาอาวุโสผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก
กราบนมัสการ พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุก พระคุณเจ้าทุกรูป และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน นับเป็นโอกาสอันดีที่กระผมได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล Award of Merit วัดปงสนุกในวันนี้ ซึ่งเป็นผลจากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2551
ในนามขององค์การยูเนสโก กระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำรางวัลอันทรงเกียรตินี้มามอบให้แก่ทางวัดและคณะทำงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน และทางจังหวัดลำปาง
ทุกท่านคงทราบว่ารางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขององค์การยูเนสโก มีจุดประสงค์เพื่อยกย่องให้ภาคเอกชน ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาค องค์การยูเนสโกเชื่อมั่นว่าในการยกย่องประชาชนและภาคเอกชนในการบูรณปฏิสังขรณ์หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง ด้วยแรงผลักดันจากประวัติศาสตร์และให้เจ้าของอาคารอื่นๆได้เริ่มดำเนินโครงการอนุรักษ์ภายในชุมชนของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยตัวบุคคล หรือการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
เก้าปีนับตั้งแต่ดำเนินโครงการมา การประกวดเพื่อชิงรางวัลเป็นไปอย่างเข้มข้น มีโครงการอนุรักษ์เข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้น 311 โครงการจาก 23 ประเทศ ในจำนวนนี้ 112 โครงการได้รับการยกย่องจากยูเนสโกในด้านการอนุรักษ์ ในปีพ.ศ.2551 นี้ มีโครงการอนุรักษ์เข้าประกวดถึง 45 โครงการจาก 13 ประเทศ
โครงการอนุรักษ์ที่ได้รับรางวัลล้วนแต่ก่อให้เกิดผลต่อการอนุรักษ์โดยทั่วไป โดยเฉพาะระดับประเทศ หลายโครงการประสบผลสำเร็จจนสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการอนุรักษ์ขึ้น ขณะที่หลายโครงการแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ทางการเมืองในการอนุรักษ์อาคารอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุด โครงการซึ่งได้รับรางวัลยังเป็นเครื่องยืนยันแนวความคิดว่า การอนุรักษ์ควรเป็นความรับมือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว
ก่อนหน้านี้ องค์การยูเนสโกเคยมอบรางวัลให้แก่โครงการอนุรักษ์ดีเด่นในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง โดยครอบคลุมตั้งแต่อาคารที่เป็นวัง คือ โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม และโครงการอนุรักษ์ตำหนักใหญ่วังเทวเวศน์ กรุงเทพมหานคร อาคารที่เป็นหน่วยงานเช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปจนถึงโครงการอนุรักษ์ชุมชน เช่น วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ชุมชนอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งวัดปงสนุกในครั้งนี้
คณะกรรมการตัดสินรางวัลประจำปี พ.ศ.2551 ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วภูมิภาคพิจารณาการอนุรักษ์วัดปงสนุกโดยให้การยกย่องอย่างสูง ผมใคร่ขออนุญาตนำบางส่วนของคำตัดสินมาถ่ายทอดแก่ทุกท่านดังนี้
อาจเรียกได้ว่าโครงการอนุรักษ์วัดปงสนุก เมืองลำปาง เป็นดังต้นแบบโครงการอนุรักษ์ที่นำโดยคนในชุมชน ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจในการสงวนรักษาวัดแบบล้านนาอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว งานอนุรักษ์วัดปงสนุกดำเนินการขึ้นอย่างละเอียดอ่อน โดยก่อให้เกิดการฟื้นฟูองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมโบราณและเทคนิคการตกแต่งประดับประดาแบบดั้งเดิม นอกเหนือจากการสนับสนุนกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
ในการคุ้มครองวัดแล้ว โครงการอนุรักษ์ดังกล่าวยังได้สร้างความเชื่อมั่นว่าวัดปงสนุกจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของมรดทางวัฒนธรรมของเมืองลำปางและภาคเหนือของประเทศไทยต่อไปอีกนานแสนนาน
นอกจากนี้องค์การยูเนสโกขอยกย่องบทบาทของพระภิกษุสงฆ์ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในโครงการอนุรักษ์ครั้งนี้ เนื่องจากวัดเป็นที่รวบรวมทั้งมรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของคนในชาติ การที่สมณะได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษามรดกดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
สุดท้ายนี้ผมขอแสดงความยินดีกับคณะทำงานโครงการผู้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่จนประสบความสำเร็จ คณะทำงานฝ่ายอนุรักษ์ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพ ขอแสดงความยินดีกับช่างฝีมือที่ได้แสดงทักษะเชิงช่างพื้นบ้านให้เป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งขอแสดงความยินดีกับชุมชนวัดปงสนุกทุกท่านที่อุทิศแรงกาย แรงใจ สนับสนุนโครงการมาโดยตลอด
หวังว่าโครงการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับโครงการอนุรักษ์ซึ่งจะตามมาในดินแดนล้านนา เป็นต้นแบบให้ฝ่ายสงฆ์และฆราวาสในชุมชนซึ่งมีวัดโบราณในพื้นที่อื่นๆ ได้ใช้เป็นตัวอย่างต่อไปขอมอบรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขององค์การยูเนสโก ให้แก่วัดปงสนุก และขอแสดงความยินดีอีกครั้ง ขอบคุณครับ
Award of Merit
วัดปงสนุก
ณ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.00 น.
คำกล่าวโดย ดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท
ที่ปรึกษาอาวุโสผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก
กราบนมัสการ พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุก พระคุณเจ้าทุกรูป และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน นับเป็นโอกาสอันดีที่กระผมได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล Award of Merit วัดปงสนุกในวันนี้ ซึ่งเป็นผลจากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2551
ในนามขององค์การยูเนสโก กระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำรางวัลอันทรงเกียรตินี้มามอบให้แก่ทางวัดและคณะทำงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน และทางจังหวัดลำปาง
ทุกท่านคงทราบว่ารางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขององค์การยูเนสโก มีจุดประสงค์เพื่อยกย่องให้ภาคเอกชน ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาค องค์การยูเนสโกเชื่อมั่นว่าในการยกย่องประชาชนและภาคเอกชนในการบูรณปฏิสังขรณ์หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง ด้วยแรงผลักดันจากประวัติศาสตร์และให้เจ้าของอาคารอื่นๆได้เริ่มดำเนินโครงการอนุรักษ์ภายในชุมชนของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยตัวบุคคล หรือการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
เก้าปีนับตั้งแต่ดำเนินโครงการมา การประกวดเพื่อชิงรางวัลเป็นไปอย่างเข้มข้น มีโครงการอนุรักษ์เข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้น 311 โครงการจาก 23 ประเทศ ในจำนวนนี้ 112 โครงการได้รับการยกย่องจากยูเนสโกในด้านการอนุรักษ์ ในปีพ.ศ.2551 นี้ มีโครงการอนุรักษ์เข้าประกวดถึง 45 โครงการจาก 13 ประเทศ
โครงการอนุรักษ์ที่ได้รับรางวัลล้วนแต่ก่อให้เกิดผลต่อการอนุรักษ์โดยทั่วไป โดยเฉพาะระดับประเทศ หลายโครงการประสบผลสำเร็จจนสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการอนุรักษ์ขึ้น ขณะที่หลายโครงการแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ทางการเมืองในการอนุรักษ์อาคารอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุด โครงการซึ่งได้รับรางวัลยังเป็นเครื่องยืนยันแนวความคิดว่า การอนุรักษ์ควรเป็นความรับมือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว
ก่อนหน้านี้ องค์การยูเนสโกเคยมอบรางวัลให้แก่โครงการอนุรักษ์ดีเด่นในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง โดยครอบคลุมตั้งแต่อาคารที่เป็นวัง คือ โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม และโครงการอนุรักษ์ตำหนักใหญ่วังเทวเวศน์ กรุงเทพมหานคร อาคารที่เป็นหน่วยงานเช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปจนถึงโครงการอนุรักษ์ชุมชน เช่น วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ชุมชนอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งวัดปงสนุกในครั้งนี้
คณะกรรมการตัดสินรางวัลประจำปี พ.ศ.2551 ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วภูมิภาคพิจารณาการอนุรักษ์วัดปงสนุกโดยให้การยกย่องอย่างสูง ผมใคร่ขออนุญาตนำบางส่วนของคำตัดสินมาถ่ายทอดแก่ทุกท่านดังนี้
อาจเรียกได้ว่าโครงการอนุรักษ์วัดปงสนุก เมืองลำปาง เป็นดังต้นแบบโครงการอนุรักษ์ที่นำโดยคนในชุมชน ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจในการสงวนรักษาวัดแบบล้านนาอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว งานอนุรักษ์วัดปงสนุกดำเนินการขึ้นอย่างละเอียดอ่อน โดยก่อให้เกิดการฟื้นฟูองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมโบราณและเทคนิคการตกแต่งประดับประดาแบบดั้งเดิม นอกเหนือจากการสนับสนุนกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
ในการคุ้มครองวัดแล้ว โครงการอนุรักษ์ดังกล่าวยังได้สร้างความเชื่อมั่นว่าวัดปงสนุกจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของมรดทางวัฒนธรรมของเมืองลำปางและภาคเหนือของประเทศไทยต่อไปอีกนานแสนนาน
นอกจากนี้องค์การยูเนสโกขอยกย่องบทบาทของพระภิกษุสงฆ์ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในโครงการอนุรักษ์ครั้งนี้ เนื่องจากวัดเป็นที่รวบรวมทั้งมรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของคนในชาติ การที่สมณะได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษามรดกดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
สุดท้ายนี้ผมขอแสดงความยินดีกับคณะทำงานโครงการผู้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่จนประสบความสำเร็จ คณะทำงานฝ่ายอนุรักษ์ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพ ขอแสดงความยินดีกับช่างฝีมือที่ได้แสดงทักษะเชิงช่างพื้นบ้านให้เป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งขอแสดงความยินดีกับชุมชนวัดปงสนุกทุกท่านที่อุทิศแรงกาย แรงใจ สนับสนุนโครงการมาโดยตลอด
หวังว่าโครงการที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับโครงการอนุรักษ์ซึ่งจะตามมาในดินแดนล้านนา เป็นต้นแบบให้ฝ่ายสงฆ์และฆราวาสในชุมชนซึ่งมีวัดโบราณในพื้นที่อื่นๆ ได้ใช้เป็นตัวอย่างต่อไปขอมอบรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคขององค์การยูเนสโก ให้แก่วัดปงสนุก และขอแสดงความยินดีอีกครั้ง ขอบคุณครับ
..................
ได้ทำการแก้ไขคำผิดบางจุด และเน้นบางส่วนนะครับ
ผู้สื่อข่าว
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
ศุกร์ 21
พฤศจิกา 51
No comments:
Post a Comment