วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Friday, December 7, 2007

ความหลังและความหวังใน ‘หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง’ ตอนที่ 2


ข้อเสนอเมื่อราวปี 2548

*บทความนี้นำมาจาก ความหลังและความหวังใน‘หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง’ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม เขียนโดย
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2550 เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำปาง
อันเนื่องจาก จังหวัดลำปางมีนโยบายทางวัฒนธรรมที่สนใจจะ รื้อฟื้น"หอศิลป์"ขึ้นมาอีกครั้ง

2. ข้อเสนอ
2.1 ต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม
สิ่งที่เรามีอยู่ ได้แก่
2.1.1 พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ วัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น จารึก เอกสารเก่า
ภาพเก่า ภาพยนตร์เก่า มรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะงานศิลปกรรม งานสถาปัตยกรรม
แต่เราขาดการจัดเก็บ รวบรวม และนำเสนออย่างเป็นระบบพอที่จะเป็นแหล่งค้นคว้าของท้องถิ่นได้เต็มที่
ยังไม่นับโอกาสที่ชาวลำปางจะมีโอกาสเป็นผู้บริจาคหลักฐาน วัตถุโบราณ เอกสารมีค่าให้แก่ “สถาบัน” ดังกล่าว

2.1.2 เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นหน่วยย่อยที่กระจายตัวอยู่มากมาย ที่รอการเชื่อมโยง
อย่างมีประสิทธิภาพโดย “สถาบัน” ส่วนกลาง เช่น
พิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์ซาว อ.เมือง พิพิธภัณฑ์วัดพระแก้วดอนเต้า อ.เมือง พิพิธภัณฑ์
วัดพระธาตุเสด็จ อ.เมือง ชุมชนวัดปงสนุก อ.เมือง พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.
เกาะคา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน อ.เกาะคา พิพิธภัณฑ์โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา อ.แจ้ห่ม ฯลฯ ซึ่ง
ปัจจุบัน การดำเนินการไม่สอดคล้องกัน ทั้งที่หลายแห่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในเชิง
ประวัติศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำให้งานด้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเคลื่อนไหวอย่างมี
ชีวิตชีวาแล้ว อาจทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ความภาคภูมิใจของท้องถิ่นในกระบวนการดังกล่าว
ด้วย

2.1.3 เครือข่ายศิลปิน กลุ่มคนทำงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม และเยาวชน
ที่มีอยู่ในระดับหนึ่ง
ซึ่งพื้นที่แห่งนี้จะเป็นทั้งแหล่งบ่มเพาะ แหล่งพบปะคนมีฝีมือ เป็นจุดกำเนิดและ”ไปต่อ” ของนักประวัติศาสตร์
ศิลปิน ประจำถิ่นได้ “สถาบัน” จะเป็นหลักแหล่ง และสถานที่สำคัญให้ คนที่มีฝีมือ และมีความถนัด
ได้ปรากฏตัว และแสดงฝีมือ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
หรือในรูปแบบอื่นๆได้อีก

2.2 วาระใหญ่และเจ้าภาพ
จุดนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบหลัก ที่ต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ในฐานะศูนย์กลางเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม
ที่ต้องมีทรัพยากรคนและงบประมาณเพียงพอที่จะตั้งต้นทำงานได้ รวมไปถึงระดมความร่วมมือของ
ผู้คนในวงกว้าง ดังการดำเนินการที่จะเสนอต่อไปข้างหน้า ในที่นี้ขอเสนอให้ เทศบาลนครลำปาง
เป็นองค์กรรับผิดชอบ


ผู้คนร่วมแสดงความคิดเห็น ในงานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน(เพื่อหอศิลป์)ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 24-26 ตุลาคม 2546


2.3 ระยะเวลาและการดำเนินงาน

จากแผนเดิมที่เคยนำเสนอ คณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางไปแล้ว เมื่อกันยายน
2548 ก็ยังเห็นว่าในรายละเอียดอาจจะต้องปรับปรุง แต่โดยหลักการแล้วอาจจะยังประยุกต์ใช้กันได้
ซึ่งกำหนดไว้ประมาณ 2 - 3 ปี เผื่อระยะเวลาที่อบจ.ลำปาง ย้ายออก มีความโดยรวมดังนี้
1) ระยะแรก : สร้างความตื่นตัวรู้จักตัวเอง
เป็นการเสริมสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในระดับนี้ได้ทำการดำเนินก้าวหน้าไปมากแล้ว
ดังเห็นได้จากเอกสารต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะนำไปพัฒนาต่อไปได้
2) ระยะที่สอง : ร่วมกันสร้างโปรแกรมหอศิลป์
หมายถึงการกำหนดว่าภายในหอศิลป์ จะประกอบด้วยพื้นที่ลักษณะไหน ผู้ที่ร่วมใช้อาคารมีส่วนอย่างมาก
ในการให้ความเห็น กำหนด TOR (Term of Reference) ร่วมกันอย่างรัดกุม ชัดเจน
ประมาณการไว้ว่าใช้เวลา 4 เดือน
3) ระยะที่สาม : ออกแบบเขียนแบบ
อาจทำได้สองวิธี คือ ร่วมกับสถาบันที่น่าเชื่อถือ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
หรือสถาบันการศึกษาจัดประกวดแบบ (ซึ่งอาจใช้เวลานานกว่า 8 เดือน) แล้วให้ผู้ชนะทำการเขียนแบบ
หรืออีกวิธีหนึ่งคือ จ้างบริษัททำการออกแบบและเขียนแบบไปในตัว
ประมาณการไว้ว่าใช้เวลา 8-18 เดือน
4) ระยะที่สี่ : งบประมาณและการก่อสร้าง
ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของการก่อสร้างว่าจะกำหนดให้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นไปตามการเขียนแบบ
ที่ร่วมกันกำหนดแล้วประมาณการไว้ว่าใช้เวลา 12 เดือน
5) ระยะสุดท้าย : การจัดการบริหาร
ขั้นตอนนี้อาจจะต้องไตร่ตรองวิธีการบริหารในหลายรูปแบบ เช่น อาจจะมีการเปิดพื้นที่บางส่วนให้เช่า
ทำเป็นร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับหอศิลปวัฒนธรรม เช่น ร้านขายงานศิลปะ ของที่ระลึกหอศิลป์ ร้านกาแฟ
ที่เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาใช้ พบปะเสวนากัน

ทั้งนี้การดำเนินการทั้งปวงต้องมีการเขียน TOR อย่างรอบคอบ และมีการปรึกษาของคณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด ดังบทเรียนที่ปรากฏมาแล้วใน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

2.4 แบบจำลองทางความคิด “พื้นที่ทางวัฒนธรรมนครลำปาง” ในย่านคุ้มหลวงเดิม
อย่างไรก็ดีดังที่กล่าวมาตั้งแต่เบื้องต้น พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง อาจมิได้จำกัด
แค่เพียงตัวอาคารนี้เท่านั้น แต่ยังรวมภูมิทัศน์โดยรอบ และมิหนำซ้ำอาจรวมพื้นที่ศาลาประชาคม
ในอนาคตด้วย และยกระดับพื้นที่นี้ให้เป็น ย่าน”พื้นที่ทางวัฒนธรรมนครลำปาง”ก็เป็นได้ แต่ในเบื้องต้น
การใช้พื้นที่อาคารและต่อเนื่องมายังบริเวณสนามหญ้าน่าจะเป็นโอกาสที่พื้นที่ ได้สนทนากับ พื้นที่เมือง
เป็นพื้นที่สาธารณะหนึ่งกับตัวเมือง ซึ่งอาจเปิดพื้นที่โดย ร่นระยะรั้วให้สนามหญ้าได้เชื่อมกับถนน ในลักษณะเดียวกับการเปิดรั้วของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยที่ทำให้พื้นที่ของอนุสาวรีย์เจ้าพ่อบุญวาทย์วงษ์มานิต
สามารถให้ชาวลำปางเข้าถึง และใกล้ชิดได้ง่าย ฉันใดก็ฉันนั้น
ในรายงานสั้นฉบับนี้ยังผนวกข้อเสนอการใช้พื้นที่ภายในที่เคยเสนอมาเมื่อปี 2548 แต่เป็นการนำเสนอ
คร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพเท่านั้น ในที่นี้จะแยกประเภทให้เห็นภาพใหญ่เพื่อจะได้จินตนาการตามได้ออก
ในพื้นที่หอศิลป์ อาจแบ่งพื้นที่ใหญ่ๆได้สองส่วน ได้แก่ ตัวอาคาร กับ พื้นที่รอบอาคารและสนามหญ้า
ตัวอาคาร จะเป็นส่วนที่รองรับกิจกรรมหลักๆ 9 ส่วน ได้แก่
1) ส่วนอำนวยการ ได้แก่ ส่วนติดต่อสอบถาม สำนักงาน
2) ส่วนอำนวยความสะดวก รวมไปถึง ร้านหนังสือ/ของที่ระลึกหอศิลป์ ร้านกาแฟ โรงอาหาร

3) ส่วนข้อมูลเบื้องต้นเรื่องเมืองลำปาง เป็นส่วนบรรยายให้รูจักลำปางภายใน 5 นาที
4) ห้องปฏิบัติการ รองรับงานศิลปะ ช่าง สล่าพื้นบ้าน เยาวชน

5) ส่วนแสดงนิทรรศการชั่วคราว รองรับนิทรรศการศิลปะ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ
6) ห้องประชุม 30 - 50 คน

7) ส่วนสังคีตศิลป์ ประวัติดนตรีพื้นเมือง และพื้นที่การเรียนการสอน ห้องอัดเสียง

8) ส่วนพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการถาวร ประกอบด้วยเนื้อหาคร่าวๆดังนี้ ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

ทางประวัติศาสตร์ลำปาง ภูมิลักษณ์ เมือง และทำเลที่ตั้ง เจ้าผู้ครองนครลำปาง ความหลากหลาย
ของท้องถิ่นลำปาง งานศิลปกรรมและโบราณคดี กลุ่มผู้คน ชาติพันธุ์ในลำปาง
9) ส่วนงานข้อมูลท้องถิ่น ให้บริการเอกสาร ตำรา งานวิจัย เกี่ยวกับท้องถิ่นลำปาง
พื้นที่รอบอาคารและสนามหญ้า
1) ส่วนบริการ
2) เวทีกลางแจ้ง

3) ภูมิทัศน์โดยรอบ และที่จอดรถ

การจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง เป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างไรก็ตาม หากคิดว่าเรานับหนึ่งมาตั้งแต่
ปี 2546 เป็นต้นมา ก็ยังถือว่าเป็นเวลาที่ไม่นานไปนัก จากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ว่า
หอวัฒนธรรมนิเทศน์ จ.พะเยาใช้เวลาสร้าง 7 ปี (พ.ศ.2532-2539)
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใช้เวลา 9 ปี (พ.ศ.2536-2545)

เรายังมีเวลาอยู่ ยังไม่สายเกินไป
.................................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang : เปิดโลกลำปาง
ศุกร์ 7
ธันวา 50

No comments: