"พ่อเจ้าบุญวาทย์กับวิวัฒนาการของเมืองลำปาง" โดย ผศ.สายฝน น้อยหีด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พฤศจิกายน 2550)
ที่มาภาพ : http://www.pantown.com/board.php?id=1426&area=1&name=board2&topic=322&action=view
ที่มาภาพ : http://www.pantown.com/board.php?id=1426&area=1&name=board2&topic=322&action=view
"สมุดภาพเมืองลำปาง รวมภาพเก่า-ใหม่เขลางค์นคร" มีนาคม 2551 โดย มาร์ค ทิพยมาบุตร และเอนก นาวิกมูล
ที่มาภาพ : http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2223&start=15
นิตยสาร Trips ประจำเดือนตุลาคม 2551
ที่มาภาพ : http://www.trips.in.th/th/products_services/trips/detail.php?ID=1964
นิตยสาร VOYAGE ประจำเดือนมกราคม 2552 ปกสะพานรัษฎาภิเศก
ตั้งแต่ปลายปี 2550 ต่อจนถึงต้นปี 2552 ได้ปรากฏว่ามีหนังสือที่ใช้ภาพเกี่ยวกับลำปางเป็นหน้าปกอยู่บนแผงจำนวนไม่น้อย
เริ่มจาก "พ่อเจ้าบุญวาทย์กับวิวัฒนาการของเมืองลำปาง" ที่ทางสมาคมศิษย์เก่าบุญวาทย์วิทยาลัยได้มีนโยบายในการจัดทำหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นการจัดหาทุนให้แก่สมาคม โดย ผศ.สายฝน น้อยหีด แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ด้วยคุณภาพกระดาษและการพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ทำให้ต้นทุนหนังสือเล่มนี้มีราคาสูง และไม่สามารถเผยแพร่ไปในวงกว้างเท่าใดนัก สารบัญได้แบ่งเป็น 2 ตอน กล่าวคือ 1.พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของเมืองลำปางพอสังเขป 2.เจ้าบุญวาทย์กับพัฒนาการทางการเมืองการปกครองนครลำปาง : ความสัมพันธ์กับสยาม 3.การพัฒนาบ้านเมืองลำปางในช่วงเจ้าบุญวาทย์ พร้อมประกอบด้วยภาพเก่าเล่าอดีต ในส่วนการสร้างทางรถไฟ วัดในลำปาง และอื่นๆ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยภาคผนวก จากอดีตสู่อนาคตเมืองนครลำปาง
ขณะที่เล่มต่อมา เกิดจากความบังเอิญที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียน "บ้านพิพิธภัณฑ์"ที่จัดตั้งโดยคุณเอนก นาวิกมูลและคณะ บนกองหนังสือที่เต็มไปด้วยสารคดี ภาพเก่า เรื่องเล่าต่างๆในเมืองไทย มีหนังสือปกสีเหลืองสะดุดตา ทำให้ผู้เขียนสนใจ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีชื่อเรื่องว่า "สมุดภาพเมืองลำปางฯ" เนื้อหาภายในนั้นได้บอกเราว่าเป็นหนังสือที่จัดทำเป็นหนังสือที่ระลึกในพิธีบรรจุอัฐินายทนงศิลป์ ทิพย์มาบุตร เมื่อ 6 เมษายน 2551 ภายในสารบัญบรรจุประวัติผู้เสียชีวิต ประวัติย่อเมืองลำปาง ลำปาในภาพเก่า ลำปางปัจจุบัน ภาพสี่สีเมืองลำปาง
อีกสองเล่มเป็นนิตยสารแนวท่องเที่ยว Trips ประจำเดือนตุลาคม 2551 หน้าปกเรียบๆ ใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย แต่ภายในเล่มนั้นบรรจุสถานที่ท่องเที่ยวในลำปางได้อย่างละเอียดละออมากเท่าที่เคยเห็นมา ไม่เพียงในตัวเมือง แต่ยังทั่วจังหวัดลำปาง ทั้งการท่องเที่ยวในแบบศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติ มีการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่ชื่อว่า "กิ่วฝิ่น"
ส่วนนิตยสาร VOYAGE ประจำเดือนมกราคม 2552 ขึ้นปกด้วยสะพานรัษฎาภิเศก โปรยด้วยคำชวนเที่ยวว่า "ENCHANTING LAMPANG" ลำปาง...อัศจรรย์ในอ้อมกอดแห่งกาลเวลา มีบทที่น่าสนใจว่าด้วย "เขลางค์นคร...เมืองหลวงแห่งรถม้า"
หากท่านผู้อ่านพบเห็น หรือมีข้อมูลปกหนังสืออื่นๆ กรุณาส่งมาแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ
เหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในความคึกคักหนึ่งที่สร้างสีสันให้กับลำปาง ที่กำลังก้าวเดินและตื่นจากการหลับใหลมานาน แต่คำถามที่สำคัญก็คือว่า แล้วพวกเรากำลังจะก้าวเดินไปทางไหนกันล่ะ?
.....................
เริ่มจาก "พ่อเจ้าบุญวาทย์กับวิวัฒนาการของเมืองลำปาง" ที่ทางสมาคมศิษย์เก่าบุญวาทย์วิทยาลัยได้มีนโยบายในการจัดทำหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นการจัดหาทุนให้แก่สมาคม โดย ผศ.สายฝน น้อยหีด แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ด้วยคุณภาพกระดาษและการพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ทำให้ต้นทุนหนังสือเล่มนี้มีราคาสูง และไม่สามารถเผยแพร่ไปในวงกว้างเท่าใดนัก สารบัญได้แบ่งเป็น 2 ตอน กล่าวคือ 1.พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของเมืองลำปางพอสังเขป 2.เจ้าบุญวาทย์กับพัฒนาการทางการเมืองการปกครองนครลำปาง : ความสัมพันธ์กับสยาม 3.การพัฒนาบ้านเมืองลำปางในช่วงเจ้าบุญวาทย์ พร้อมประกอบด้วยภาพเก่าเล่าอดีต ในส่วนการสร้างทางรถไฟ วัดในลำปาง และอื่นๆ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยภาคผนวก จากอดีตสู่อนาคตเมืองนครลำปาง
ขณะที่เล่มต่อมา เกิดจากความบังเอิญที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียน "บ้านพิพิธภัณฑ์"ที่จัดตั้งโดยคุณเอนก นาวิกมูลและคณะ บนกองหนังสือที่เต็มไปด้วยสารคดี ภาพเก่า เรื่องเล่าต่างๆในเมืองไทย มีหนังสือปกสีเหลืองสะดุดตา ทำให้ผู้เขียนสนใจ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีชื่อเรื่องว่า "สมุดภาพเมืองลำปางฯ" เนื้อหาภายในนั้นได้บอกเราว่าเป็นหนังสือที่จัดทำเป็นหนังสือที่ระลึกในพิธีบรรจุอัฐินายทนงศิลป์ ทิพย์มาบุตร เมื่อ 6 เมษายน 2551 ภายในสารบัญบรรจุประวัติผู้เสียชีวิต ประวัติย่อเมืองลำปาง ลำปาในภาพเก่า ลำปางปัจจุบัน ภาพสี่สีเมืองลำปาง
อีกสองเล่มเป็นนิตยสารแนวท่องเที่ยว Trips ประจำเดือนตุลาคม 2551 หน้าปกเรียบๆ ใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย แต่ภายในเล่มนั้นบรรจุสถานที่ท่องเที่ยวในลำปางได้อย่างละเอียดละออมากเท่าที่เคยเห็นมา ไม่เพียงในตัวเมือง แต่ยังทั่วจังหวัดลำปาง ทั้งการท่องเที่ยวในแบบศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติ มีการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่ชื่อว่า "กิ่วฝิ่น"
ส่วนนิตยสาร VOYAGE ประจำเดือนมกราคม 2552 ขึ้นปกด้วยสะพานรัษฎาภิเศก โปรยด้วยคำชวนเที่ยวว่า "ENCHANTING LAMPANG" ลำปาง...อัศจรรย์ในอ้อมกอดแห่งกาลเวลา มีบทที่น่าสนใจว่าด้วย "เขลางค์นคร...เมืองหลวงแห่งรถม้า"
หากท่านผู้อ่านพบเห็น หรือมีข้อมูลปกหนังสืออื่นๆ กรุณาส่งมาแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ
เหล่านี้ก็เป็นหนึ่งในความคึกคักหนึ่งที่สร้างสีสันให้กับลำปาง ที่กำลังก้าวเดินและตื่นจากการหลับใหลมานาน แต่คำถามที่สำคัญก็คือว่า แล้วพวกเรากำลังจะก้าวเดินไปทางไหนกันล่ะ?
.....................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
อาทิตย์ 1
กุมภา 52
1 comment:
а все таки: превосходно.. а82ч
Post a Comment