วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Wednesday, January 12, 2011

เปิดโลกไซเบอร์พื้นที่ใหม่ กับ มิวเซียมลำปาง



ก้าวต่อไปของการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม
ก็คือ การเข้ามาผลักดันอีกครั้งของ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
เจ้าเดียวกับที่สร้าง "มิวเซียมสยาม"

ทีมประชาสัมพันธ์ของคณะทำงานฯ จึงได้เปิด Facebook ขึ้นมาเพื่อรวบรวม
ความคิดเห็น ภาพเก่า เรื่องเล่าต่างๆทั่วลำปาง จากคนลำปางและผู้สนใจทั่วโลก

ติดตามได้ที่นี่ http://www.facebook.com/museumlampang
โลกที่ง่ายขึ้น ได้ทำให้เราใกล้ขึ้น และทำงานได้ง่ายขึ้น

ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง
อังคาร 12
มกรา 54

Thursday, October 28, 2010

รื้อฟื้น "ตุงค่าวธรรม" วัดวังหม้อ ครั้งประวัติศาสตร์ของเมืองลำปาง ในรอบ 70 ปี







สร้าง "ตุงค่าวธรรม" หรือ "ภาพพระบฏ" ครั้งประวัติศาสตร์ของเมืองลำปาง ในรอบ 70 ปี
เพื่อจัดตั้งธรรมหลวง ณ วัดวังหม้อ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2553

“ตุงค่าว” ถือเป็นงานพุทธศิลป์ประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งในด้านของคุณค่าทางโบราณวัตถุศิลปวัตถุ คุณค่าด้านประเพณีวัฒนธรรม คุณค่าด้านองค์ความรู้ทางพุทธศาสนาที่สื่อออกมาในรูปแบบของภาพเล่าเรื่อง รวมไปถึงหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะวิถีชิวิตความเป็นอยู่ เครื่องใช้ไม้สอย ทั้งความงดงามด้านศิลปกรรม เทคนิควิธีกรรม การสื่อถึงคติความเชื่อและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี แสดงถึงความเจริญงอกงามของพุทธศาสนาที่เป็นบ่อเกิดของขนบประเพณีนิยม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของคนในอดีต ตุงค่าวธรรมจึงเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ ที่ควรค่าแก่การดูแล รักษา เชิดชูและหวงแหนไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการศึกษาตุงค่าวธรรม คือ การรื้อฟื้นองค์ความรู้การเทศน์มหาชาติ(ประเพณีการตั้งธรรมหลวง) ของชาวล้านนา ซึ่งการใช้ตุงค่าวธรรม เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมอันสำคัญนี้ ถือเป็นสื่อธรรมะที่สำคัญที่ใช้ประกอบการเทศนา สอนเรื่องพระเวสสันดรให้กับผู้คนได้ดี ซึ่งในอดีตทุกวัดในล้านนา เมื่อมีประเพณีการตั้งธรรมหลวง ก็มักแขวนตุงค่าวธรรม ไว้รายรอบวิหาร

แต่ในปัจจุบันนั้นประเพณีดังกล่าวได้ลบเลือนหายไป ทำให้ตุงค่าวธรรมเองไม่ได้นำกลับมาใช้งาน ถูกละทิ้งจนขาดการดูแลเอาใจใส่ของคนในชุมชน อีกทั้งยังไร้ซึ่งคุณค่าและความหมายในสังคมยุคปัจจุบัน อันเป็นผลกระทบมาจากแนวคิดของสังคมล้านนาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาวะของตุงค่าวธรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเทศน์มหาชาติ(ประเพณีการตั้งธรรมหลวง) ในปัจจุบันนั้น น่าเป็นห่วงที่เสี่ยงต่อการสูญหาย และถูกเปลี่ยนหน้าที่การใช้งาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการจัดการศึกษาในด้านข้อมูล การให้ชุมชนรับรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญ ทั้งในแง่ของความหมายที่แฝงไว้ หน้าที่การใช้งาน คติการสร้าง รวมไปถึงใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องแล้ว ในอนาคตตุงค่าวธรรมเหล่านี้อาจจะเป็นเพียงแค่งานจิตรกรรมบนผืนผ้า ที่หาคุณค่าทางจิตใจไม่ได้เลย

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเห็นควรที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัยและจัดการอนุรักษ์ตุงค่าวธรรม ในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง ให้ได้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญพร้อมนำเสนอให้กับชุมชนนั้นๆ ให้ได้รับรู้พร้อมกับการพัฒนาตุงค่าวธรรม ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม เพื่อปรับรูปแบบการสื่อความหมาย การสร้างตุงค่าวธรรมขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเดิมให้เข้ากับสังคมยุคปัจจุบัน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้จัดทำโครงการ “การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนผ่านการสร้างสื่อผสม(Mixed Media) ร่วมกับชุมชน นำโดย รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการ และ อ.ดร. สุภาพร นาคบัลลังก์ เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน และ อ.อนุกูล ศิริพันธุ์ ผู้ให้การสนับสนุนความรู้ด้านพิธีกรรม

โดยการวาดภาพตุงค่าวธรรมให้วัดวังหม้อเพื่อนำใช้ประกอบพิธีเทศน์มหาชาติในครั้งนี้ ได้มีอาจารย์ทวี เสรีวาศ อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นนายช่างใหญ่ในการวาดภาพ ทั้ง 12 กัณฑ์ รวมทั้งหมด 28 ผืน ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ให้หันกลับมามองงานศิลปกรรมอันมีค่าและอนุรักษ์ดูแลรักษา หวงแหนงานพุทธศิลป์ที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง ดึงดูดให้คนเข้ามาศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งอนุรักษ์งานตุงค่าวธรรมและที่สำคัญเยาวชนยุคใหม่จะได้มีความภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตน ที่ได้สร้างสรรค์งานศิลป์ไว้กับพุทธศาสนาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบไป

โดยการสร้างตุงค่าวธรรมในครั้งนี้ จะเป็นการเล่าเรื่องราวถึงพระเวสสันดรชาดก 12 กัณฑ์ เขียนภาพลงบนผืนผ้า ใช้สีสันที่มีความสวยงามตามจินตนาการผสมผสานกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อใช้ประกอบการฟังเทศน์มหาชาติให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้ง ซึ่งการสร้างภาพตุงค่าวในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งสำคัญของเมืองลำปาง คือเป็นการหวนกลับมาวาดภาพตุงค่าวขึ้นใหม่ในรอบ 70 ปี เพื่อจะนำไปใช้ในการตั้งธรรมหลวงของวัดวังหม้อต่อไปในอนาคต

ในการนี้ทางวัดวังหม้อและชุมชนบ้านวังหม้อ จะได้หาเจ้าภาพ เจ้าศรัทธาภาพตุงค่าวธรรม เพื่อนำเงินที่ได้ไปสร้างตู้เก็บภาพตุงค่าวธรรมชุดนี้ต่อไป โดยให้เป็นเจ้าภาพตุงค่าวธรรมผืนละ 2,000 บาท ซึ่งทางวัดจะเขียนชื่อเจ้าภาพไว้ติดกับภาพในแต่ละผืน

การบอกบุญในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีและหาได้ยาก เนื่องจากการสร้างภาพตุงค่าวธรรมขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการตั้งธรรมหลวงนั้น หาโอกาสที่จะเข้ามาเป็นเจ้าภาพได้น้อย เพราะการรื้อฟื้นประเพณีนี้พบได้ยาก ทางวัดวังหม้อจึงฝากบอกบุญและขอเชิญร่วมงานตั้งธรรมหลวง ณ วัดวังหม้อ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2553 มาในการนี้

สนใจติดต่อ: ท่านพระครูวิฑิตพัฒนภิธาน เจ้าอาวาสวัดวังหม้อ
เบอร์โทร: 0861910319

ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

พฤหัส 28
ตุลา 53

Tuesday, September 14, 2010

เชิญร่วมงาน....วันนี้ที่รอคอย “พิพิธภัณฑ์นครลำปาง”...วันอังคารที่ 21 กันยายน นี้ 17.30 ณ ข่วงนคร



ภาพจาก http://jjackk.multiply.com/photos/album/21/21

เชิญร่วมงาน....วันนี้ที่รอคอย “พิพิธภัณฑ์นครลำปาง”...วันอังคารที่ 21 กันยายน 2553ณ บริเวณลานน้ำพุ หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์นครลำปาง (อาคาร 1 สำนักงานเทศบาลนครลำปาง) ข่วงนครลำปาง
เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป งานนี้จัดโดย
เทศบาลนครลำปาง


แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วนได้แก่
1) กิจกรรมบริเวณลานน้ำพุ
เวลา 17.30 – 20.30 น.
- ดนตรีโฟล์คซอง
- บริษัทรักลูก เอ็ดดูเท็กซ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ฉายวีดิทัศน์โครงการ , บอร์ดโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์
- ฉายหนัง ลำปางในอดีต
- กิจกรรมกลุ่มสล่าเขลางค์ : ชวนคนแต่งแต้มเติมเต็มพิพิธภัณฑ์
- ชมรมภาพถ่ายนครลำปาง (Lampang Photo Club) ร่วมแสดง ภาพเมืองลำปางในมมุมต่างๆ
- นิทรรศการทางศิลปวัฒนธรรมจา วัดปงสนุก
- นิทรรศการนำเสนอ กรณีศึกษาการอนุรักษ์โบราณสถาน best practices กู่เจ้าย่าสุตา

2) กิจกรรมบริเวณเวทีกลาง
เวลา 19.00 – 20.00 น.
- เวทีเสวนา...วันนี้ที่รอคอย “พิพิธภัณฑ์นครลำปาง
- นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวถึง
ที่มาของโครงการ วิสัยทัศน์ งานพิพิธภัณฑ์
- บริษัทรักลูก เอ็ดดูเท็กซ์ เล่าเรื่อง พิพิธภัณฑ์ในฐานะ "แม่เหล็กเมือง" : การดำเนินโครงการสร้างพิพิธภัณฑ์ และส่วนจัดนิทรรศการถาวรภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
-
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับ ปราชญ์ลำปาง และกลุ่มสล่าเขลางค์
.................

ข่าวประกอบ

นายนิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวว่า เพื่อให้ชาวลำปาง และสาธารณชนได้รับรู้ถึงรากเหง้า และตระหนักในความสำคัญของนครลำปาง การจัดสร้างนิทรรศการถาวรในเขตเทศบาลนครลำปาง นับเป็นภารกิจหนึ่งที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ อันเป็นประโยชน์ต่อชาวลำปาง ให้สามารถเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม สำนักการช่าง และสำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงภายในพื้นที่ส่วนหน้าของอาคารสำนักงานเทศบาลนครลำปาง ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานหลังแรก(อาคาร1)ให้เป็นหอเกียรติยศ“พิพิธภัณฑ์เมือง”เทศบาลนครลำปาง เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเรื่องราวต่าง ๆ โบราณวัตถุ ภูมิปัญญาท่องถิ่น ตลอดจนเป็นศูนย์รวบรวมความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา ที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ทั้งยัง เป็นสถานที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมลำปาง และเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมของคนลำปางในเขตเทศบาลนครลำปาง อย่างยั่งยืน ต่อไป

เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการดำเนินการของเทศบาลนครลำปาง จึงกำหนดให้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การจัดทำหอเกียรติยศ วันนี้ที่รอคอย “พิพิธภัณฑ์นครลำปาง” ในวันอังคารที่ 21 กันยายน 2553 ณ บริเวณลานน้ำพุ หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ ข่วงนครลำปาง ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป ซึ่งกิจกรรมประชาสัมพันธ์การจัดทำพิพิธภัณฑ์ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย การแสดงดนตรีโฟล์คซอง กิจกรรมกลุ่มสล่าเขลางค์ ชวนคนแต่งแต้มเติมเต็มพิพิธภัณฑ์ การแสดงภาพเมืองลำปาง ของชมรมช่างภาพ การฉายหนังลำปาง การฉายวีดีทัศน์โครงการ บอร์ดโครงการ นิทรรศการวัดปงสนุก งานนำเสนอ Best Practices กู่เจ้าย่าสุตา และการเสวนาวันนี้ที่รอคอย “พิพิธภัณฑ์นครลำปาง” การเล่าเรื่องแม่เหล็กเมือง การดำเนินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ และส่วนจัดนิทรรศการถาวรภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ รวมถึงปราชญ์ลำปาง และกลุ่มสล่าเขลางค์ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันด้วย

สำหรับ พื้นที่ดำเนินการ จัดสร้างนิทรรศการถาวรภายในพี้นที่ ชั้นที่สอง ประมาณ 300 ตารางเมตรของอาคารสำนักงานเทศบาลนครลำปาง ประกอบด้วย ห้องฉายวีดีทัศน์ และจัดแสดงวัตถุสะสมของเทศบาลนครลำปาง พร้อมครุภัณฑ์ภายใน ห้องจัดนิทรรศการชั่วคราว ห้องเก็บของสำหรับนิทรรศการชั่วคราว ห้องสำนักงาน และห้องสมุดเพื่อการสืบค้นข้อมูล E-Library รวมถึงห้องโถงต้อนรับ เป็นต้น.

ที่มา
http://www.lampangcity.go.th/detail_act_news.php?id=2875

ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อังคาร 14
กันยา 53

Friday, September 10, 2010

เชิญพบกับ Facebook ของ มูลนิธิน้อยลูกซัด เสาจินดารัตน์ อนุสรณ์ ...


ตัวอย่างหน้าเพจของ Facebook

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า บัดนี้ มูลนิธิน้อยลูกซัด เสาจินดารัตน์ อนุสรณ์ ได้เข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบเว็บบล็อก on Lampang : เปิดโลกลำปาง นี้โดยตรง ขณะนี้ได้ทำการเปิดที่ทำการอีกแห่งใน Facebook สามารถติดตามและพูดคุยกับเราได้ที่
http://www.facebook.com/pages/mulnithi-nxy-luk-sad-sea-cinda-ratn-xnusrn/122382084481211?ref=ts#!/

เตรียมพบกับความเปลี่ยนแปลง และการเปิดสำนักงานมูลนิธิฯ ที่จะร่วมเป็นพลังในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมบนผืนฟ้าและในแผ่นดินลำปางได้ เร็วๆนี้

ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

ศุกร์ 10
กันยา 53

Friday, August 27, 2010

เชิญร่วมงาน "งานม่าน งานไต ในนครลำปาง" ศุกร์ที่ 3 กันยา 53


บัตรเชิญ

ศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ
วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
เชิญร่วมงาน "งานม่าน งานไต ในนครลำปาง"
ณ ห้องประชุมใหญ่ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553

กำหนดการ
08.30 น. ลงทะเบียน
09.30 น. บรรยายหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนาและวัฒนธรรมนครลำปาง"
โดย รศ.อุษณีย์ ธงไชย
10.30 น. บรรยายหัวข้อ "งานม่าน งานไต ในนครลำปาง"
โดย อาจารย์วิถี พานิชพันธ์

13.00 น. เสวนาวิชาการ "เล่าความหลัง ย้อนอดีต วิถีชีวิตชาวม่าน ชาวไตในนครลำปาง"
โดย นักวิชาการท้องถิ่น
14.30 น. นำเสนอผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ "ปลูกต้นกล้านักวิจัย วัดพม่า-ไทใหญ่นครลำปาง"

งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน สนใจสำรองที่นั่งได้ที่
ศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทร.053-943543

ผู้สื่อข่าว
on lampang :
เปิดโลกลำปาง

ศุกร์ 27
สิงหา 53

Tuesday, August 3, 2010

เชิญร่วมเสวนา เรื่อง “ชุมชนกับการอนุรักษ์โบราณสถาน” อาทิตย์ที่ 15 สิงหา 53 ครึ่งเช้า


ภาพจาก สำนักการช่าง เทศบาลนครลำปาง


ภาพจาก สำนักการช่าง เทศบาลนครลำปาง


กำหนดการเสวนา

เรื่อง “ชุมชนกับการอนุรักษ์โบราณสถาน”

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ณ บริเวณโบราณสถานกู่เจ้าย่าสุตตา ถนนวังเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง

**************

(โครงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เพื่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถาน กู่เจ้าย่าสุตตาหรือประตูขงวัดกากแก้ว (ร้าง))

เวลา 8.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนและรับเอกสาร

เวลา 9.00 – 10.00 น. เสวนา เรื่อง “ชุมชนกับการอนุรักษ์โบราณสถาน”

ร่วมเสวนา โดย....


1. นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร

2. นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

3. นายนิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง

ดำเนินการเสวนา โดย.... อาจารย์อนุกูล ศิริพันธ์

เวลา 10.00 – 10.15 น. รับประทานอาหารว่าง

เวลา 10.15 – 12.00 น. เสวนา เรื่อง “ ทำไมต้องขุดค้นศึกษา?” (ประวัติศาสตร์และความสำคัญของพื้นที่)

ร่วมเสวนา โดย…

1. เจ้าอาวาสวัดประตูป่อง

2. พ่อหนานบุญศรี วรรณศรี ปราชญ์ท้องถิ่น

3. อาจารย์สุวภรณ์ ชูโต ตัวแทนภาคประชาชน

4. อาจารย์ประสงค์ แสงแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิท้องถิ่น

5. นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ

ดำเนินการเสวนาโดย..... อาจารย์อนุกูล ศิริพันธุ์


เวลา 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 – 15.00 น. ศึกษาดูงานพื้นที่การขุดค้น ขุดแต่ง โบราณสถานกู่เจ้าย่าสุตตา

โดย......วิทยากรจากเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์มาจาก สำนักการช่างเทศบาลนครลำปาง

ขอบคุณด้วยสำหรับข้อมูลและภาพประกอบนะครับ

ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง


อังคาร 3
สิงหา 53