วัดพระธาตุลำปางหลวง โดย คุณ moofight ถ่ายราวๆปี 2551 ภาพจาก http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=25898

Sunday, August 9, 2009

ทุบตึกเก่าโรงไฟฟ้า...เจอตึกเก่าปี2474


หลังจากที่ทำการทุบตึกเก่าด้านหน้าไปแล้ว ก็ปรากฏตึกเก่าอีกหลังหนึ่งที่ให้ข้อมูลว่าสร้างปี 2474


รายละเอียดข้อมูลที่อยู่บนหน้าสกัดของตึก


สภาพโดยรวมมองจากถนนเชียงราย
ถ่ายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552


ตึกโรงไฟฟ้าเก่าก่อนถูกรื้อถอน

ดังที่เราได้เคยไปถ่ายตึกโรงไฟฟ้าเก่าก่อนจะทุบ ดังที่ปรากฏในกระทู้นี้
1 ตึกถูกทุบ 1 เรือนไม้ถูกรื้อ

แต่ไม่นึกว่าจะมีสิ่งที่น่าสนใจซ่อนอยู่ เมื่อวานมีคนแจ้งมาให้ไปถ่ายรูปหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งของเมืองนครลำปาง จึงได้เก็บภาพไว้ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าอาคารที่สร้างในปี 2474 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทุบทิ้งหรือไม่

ได้ถอดตัวอักษรที่เขียนด้วยภาษาไทยมาดังนี้

"...
พ.ศ.๒๔๗๔
บริษัทไฟฟ้า จังหวัดลำปาง จำกัด

บูรณะ ซ่อมแซม ๒๕๒๙
การไฟฟ้าจังหวัดลำปาง
..."

.......................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 9
สิงหา 52

อบจ.สร้างอุทยานการเรียนรู้ที่หนองกระทิง 5 เดือนเสร็จ




พาดหัวข่าว "ปิดหนองกระทิง"


สวนสาธารณะหนองกระทิง
ภาพจาก http://www.thaimtb.com/webboard/113/56990-58.jpg

ข่าวจากลานนาโพสต์ (31 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2552) ลงพาดหัวข่าวไว้ว่า

"ปิดหนองกระทิง
อบจ.ลำปางเริ่มสานฝันสร้างอุทยานการเรียนรู้ที่สวนสาธารณะหนองกระทิง ใช้งบ 40 ล้าน สั่งปิดสวนตั้งแต่ 1 ส.ค.-ธ.ค.52 เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและความปลอดภัยของประชาชน"

หากไม่คิดมากเรื่องการเืมืองท้องถิ่นของทั้งสองขั้ว เราจะเห็นได้ว่าตอนนี้ลำปางเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านกายภาพในเชิงปริมาณ และในด้านคุณภาพของสังคมที่หน่วยงานในท้องถิ่นเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น
..................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 9
สิงหา 52

ศิลปกรรม มธ.ลำปาง ชวนร่วมสัมมนา การสร้างคุณค่าและเสน่ห์ให้บรรจุภัณฑ์ด้วยกราฟิก


คุณไพโรจน์ ธีระประภา วิทยากร

สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง กำหนดจัดโครงการสัมมนาวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เรื่อง “การสร้างคุณค่าและเสน่ห์ให้บรรจุภัณฑ์ด้วยกราฟิก” เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเลขนศิลป์และคณาจารย์สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

โดยกำหนดจัดในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552 ณ ห้อง 3308 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

กำหนดการ
โครงการสัมมนาวิชาการ “การสร้างคุณค่าและเสน่ห์ให้บรรจุภัณฑ์ด้วยกราฟิก”
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552
ณ ห้อง 3308 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วิทยากร : คุณไพโรจน์ ธีระประภา

09.00 - 09.30 น.
ลงทะเบียน
09.30 - 09.45 น.
พิธีกล่าวเปิดสัมมนา โดย อ.วีระจักร์ สุเอียนทรเมธี
หัวหน้าสาขาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

09.45 - 10.45 น.
ความสำคัญของกราฟิกต่อการสร้างคุณค่าและเสน่ห์ให้บรรจุภัณฑ์ รูปแบบการนำเสนอทางวิชาการ : บรรยาย ,ร่วมแสดงความคิดเห็น
พักทานอาหารว่าง
11.00 - 12.00 น.
แนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์อย่างไทย รูปแบบการนำเสนอทางวิชาการ : บรรยาย ,ร่วมแสดงความคิดเห็น
พักทานอาหารว่าง
13.00 - 14.00 น.
การเพิ่มเสน่ห์สินค้าด้วยฉลาก รูปแบบการนำเสนอทางวิชาการ : บรรยาย ,ร่วมแสดงความคิดเห็น
พักทานอาหารว่าง
14.15 - 16.15 น.
การเพิ่มเสน่ห์สินค้าด้วยฉลาก (ต่อ) รูปแบบการนำเสนอทางวิชาการ : สาธิต
16.15 - 16.30 น.
พิธีปิดสัมมนา
..............
ประวัติและผลงานวิทยากร
คุณไพโรจน์ ธีระประภา

ความเชี่ยวชาญ
การออกแบบกราฟิก (Graphic Design) และการออกแบบตัวพิมพ์ (Typeface Design)

การศึกษา
2531 ศิลปบัณฑิต (ออกแบบนิเทศศิลป์) คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2546 ศิลปมหาบัณฑิต (การออกแบบนิเทศศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติการทำงาน
2531 Graphic Designer บริษัท สามหน่อ จำกัด
2534 Art Director บริษัท DDB Needham World Wide Advertising
2536 Art Director บริษัท Leo Burnett
2537 Art Director บริษัท Spa Advertising
2544 Art Director บริษัท J.Walter T hompson
2547- 2550 Art Director บริษัท TBWA

ธุรกิจส่วนตัว
ปลายปี 2537 ก่อตั้งร้าน สยามรวย ที่จตุจักร เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ “สยามรวย”
2539 เป็นต้นมา ก่อตั้ง SiamRuayDesign รับงานออกแบบกราฟิก, ตัวพิมพ์เพื่อใช้ในภาพยนตร์และสื่ออื่นๆ
ร่วมถึงสินค้าในเครือ “สยามรวย”
2551-2552 ร่วมกับหุ้นส่วนก่อตั้งแบรนด์ใหม่ในนาม “เดอะชนบท” 2 สาขา
- เดอะชนบท @ เชียงใหม่ (ก.พ. 2552)
- เดอะชนบท @ ถนนพระอาทิตย์ (พ.ค. 2552)

ประวัติการสอนในสถาบันอุดมศึกษา
อาจารย์พิเศษ ด้าน Typography และ Advertising Layout Techniques คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์พิเศษ ด้าน Typography คณะศิลปกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ประวัติด้านการเป็นวิทยากร
2546 วิทยากรร่วมอภิปรายและเสาวนาในงานนิทรรศการ ๑๐ ตัวพิมพ์กับสังคมไทย
ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2548 วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการออกแบบตัวพิมพ์
ในโครงการประกวดออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา

รางวัลที่ได้รับ
2547 ชนะเลิศการประกวดออกแบบ 1 ใน 10 ตัวพิมพ์ ของชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(ตัวพิมพ์ SR Fahmai)
ติดต่อสอบถามได้ที่
สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
โทร. 0-5426-809 -10 โทรสาร 0-5426-8810
................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 9
สิงหา 52

Monday, August 3, 2009

เชิญชมคอนเสิร์ตเพื่อแม่ 9 สิงหานี้ ที่วิทยาลัยพยาบาลลำำปาง


ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/nayroypc/page20

วพบ.ลำปางจัดคอนเสิร์ตเพื่อแม่เนื่องในวันแม่แห่งชาติ

นางศรีสมพร ทรวงแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง เปิดเผยว่า วิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง จะจัด คอนเสิร์ตเพื่อแม่หมายเลข 2 เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ขึ้นใน วันที่ 9 สิงหาคม 2552 เวลา 18.00-21.00 น. ณ ห้องฝ้ายคำ วิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง

เพื่อนำเสนอผลงานเพลงที่เกี่ยวกับแม่ทั้งเพลงไทยและสากล จากนักดนตรีชั้นนำที่มีความสามารถทั้งในแนวดนตรีคลาสสิค เพลงคันทรี่ ในยุค 20-30 ปีที่แล้ว ในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่กว่า 20คน เนื่องจากการจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 มีกระแสตอบรับเป็นอย่างดี

สำหรับการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้จะมีการจำหน่ายบัตรให้กับผู้ที่สนใจ บัตรละ 100 บาท รายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมอบเป็นทุนการศึกษาให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ฐานะยากจน วิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราช-ชนนีนครลำปาง

ติดต่อซื้อบัตรได้ที่ :
วิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง 054-226254
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง 054-227527-8 ต่อ407-9 และ054-222559
....................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

จันทร์ 3
สิงหา 52

Sunday, August 2, 2009

โครงการยุววิจัยฯลำปาง ออนแอร์ไทยทีวีเช้าวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหา


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


บรรยากาศการอบรมของโครงการ


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การลงพื้นที่จริงของนักเรียนลำปางกัลยาณีที่กาดกองต้า


การตัดต่อเพื่อทำหนังสารคดี


อาจารย์ชุติมา คำบุญชู หัวหน้าโครงการฯ


ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ แห่งสถาบันรามจิตติ


ในรายการทีวีไทยสุดสัปดาห์ ช่องทีวีไทย เวลา 08.00-09.00 น. ได้มีสกู๊ปหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลำปาง ได้มาโฟกัสที่ โครงการโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม (โครงการอยู่ช่วงเวลาประมาณ 08.48-08.52 น.) ทำให้เราได้ติดตามไปค้นหารายละเอียดของโครงการมาฝากกัน ตามข่าวดังนี้

โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลำปาง
มีเว็บไซต์อยู่ที่ http://yuvavijailp.igetweb.com/
มีสโลแกนว่า "พลิกฟื้นประวัติศาสตร์ ประกาศอัตลักษณ์ ประจักษ์ภูมิปัญญา เสริมคุณค่ายุววิจัย"
มีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยและโจทย์การวิจัยภายใต้โครงการ ชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
2. เพื่อประสานงานติดตามและสนับสนุนให้เยาวชนทำวิจัยในแนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สร้างความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น ภายใต้ชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
3. เพื่อจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และการถอดบทเรียนระหว่างเยาวชน นักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ ในชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
4. เพื่อประสานงานให้เกิดการส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและชุมชน ในการเป็นกลไกสนับสนุนการวิจัยให้กับเยาวชน
5. เพื่อสังเคราะห์และประมวลองค์ความรู้ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวิจัยของเยาวชน และด้านการพัฒนาท้องถิ่น
หัวหน้าโครงการคือ อาจารย์ชุติมา คำบุญชู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

มีรายละเอียดข่าวจากแหล่งอื่นๆดังนี้

สกว.จัดอบรมทำหนังดึงยุววิจัยทั่วลำปางเข้าอบรม
http://www.lpru.ac.th/lpruboard/index.php?topic=234.0


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจัดการอบรมยุววิจัยให้เด็กสร้างหนังด้วยตนเองเน้นทำสารคดีเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ ดึงเยาวชนเครือข่ายยุววิจัยทั่วจังหวัดลำปางร่วมอบรม ๒ วันเต็ม

เมื่อวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยการให้การสนับสนุนไปยังสถาบันรามจิตติและ Child Watch ภาคเหนือจัดโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดยมีดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดโครงการดังกล่าว โดยโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เป็นโครงการหนึ่งของชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานติดตามและสนับสนุนให้เยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดลำปาง ทำวิจัยในแนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และวิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ การถอดบทเรียนระหว่างเยาวชน นักวิจัย นักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ โดยมีการประสานงานกันเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาและชุมชน ตลอดจนเป็นกลไกสนับสนุนการวิจัยให้กับเยาวชน เพื่อสังเคราะห์และประมวลองค์ความรู้อันจะนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวิจัยของเยาวชน และด้านการพัฒนาท้องถิ่น

นอกจากนี้ในส่วนของการจัดโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปางหลักสูตรโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรมดังกล่าว เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากกระทรวงวัฒนธรรม สถาบันรามจิตติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันรามจิตติในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน และการศึกษา ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ได้พัฒนาหลักสูตร “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” ร่วมกับโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของสกว. ขึ้นมา

โดยมีกรอบความคิด คือ การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยของเยาวชนในมิติประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในด้านการผลิตสื่อเผยแพร่ และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อเผยแพร่ของยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในรูปของ “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มเครือข่ายยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ใน ๒ พื้นที่ คือพื้นที่จังหวัดลำปาง และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

และในพื้นที่จังหวัดลำปางนั้นมีเครือข่ายยุวิจัย รวมทั้งสิ้น ๒๔ โรงเรียน มีโครงการย่อยรวม ๖๙ โครงการ รวมจำนวนยุววิจัยทั้งสิ้น ๒๕๘ คน และครูที่ปรึกษา ๖๑ คน ได้จัดการอบรมออกเป็น ๒ รุ่น รุ่นแรก ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ มี ยุววิจัยผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๕๐ คน ครูที่ปรึกษา จำนวน ๒๐ คน รุ่นที่สองมีการดำเนินงานระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ มียุววิจัยผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๗๐ คน ครูที่ปรึกษา จำนวน ๓๐ คน

ในขณะที่ นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธีเปิดกล่าวว่า กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการวิจัยของเยาวชนเป็นการเรียนรู้เรื่องราวเพื่อให้รู้จักความเป็นมาของตนเองและท้องถิ่น เป็นการศึกษาหาความรู้และสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างอัตลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นเก่ากับเยาวชนและระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทำให้ชุมชนท้องถิ่นกลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ของโรงเรียนและนักเรียน

และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างกันโดยมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือเชื่อมร้อยสายสัมพันธ์ระหว่างกัน “การอบรม สร้างสรรค์ เติมแต่ง สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง” นับว่าเป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างยุววิจัยของจังหวัดลำปางผู้มีความรักความผูกพันในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง กับผู้ใหญ่ใจดีผู้ปรารถนาจะสานความรู้และข้อค้นพบของยุววิจัย ไปสู่นวัตกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยของยุววิจัยสู่สังคมภายนอกด้วยภาพยนตร์สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง

ทั้งนี้ การอบรมโครงการอบรมสร้างสรรค์ แต่งเติม สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “ทำไมต้องทำหนังสารคดี” โดย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์, นายสรรชัย หนองตรุด, นายธนาวัฒน์ วยาจุต ทีมวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ ส่วนหลักสูตรในการอบรมทั้ง ๒ วันประกอบด้วย

กิจกรรม : ร้อยเรียง เขียนความ กิจกรรม “จากแรงบันดาลใจสู่การคิดเป็นภาพ” เทคนิคการวางโครงเรื่อง เขียนบท และวางแผนการถ่ายทำ เทคนิคการถ่ายทำ : รู้จักกล้อง มุมมอง การลงมือถ่ายทำสารคดีสั้น การพัฒนาโครงเรื่องสู่สตอรี่บอร์ด การตัดต่อ รู้จักโปรแกรม การใช้งาน กระบวนการทำงานเชิงเทคนิค การพัฒนาสตอรี่บอร์ดของกลุ่มวิจัยตนเอง ตามหัวข้อโครงการวิจัย เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีข่าวอื่นที่น่าสนใจอีกคือ
สวช. –สกว. จับมือเปิดตัว “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” หวังหนุนเยาวชนสร้างสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เสริมสร้างภูมิคุ้มทางวัฒนธรรม
....................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 2
สิงหา 52

เก็บบรรยากาศ Muse Mobile มาฝาก

ส่วนแรก : แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน จันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2552



คุณรณฤทธิ์ ธนโกเศศ จากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง แถลงข่าวหน้าตู้คอนเทนเนอร์


มินิคอนเสิร์ตคาวบอยหลังแถลงข่าว

ส่วนที่สอง : พิธีเปิด จันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2552

พิธีเปิด


บริเวณรอบๆงาน ด้านหลังเป็นซุ้มนิทรรศการของสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง


ภายในซุ้มของสภาวัฒนธรรมฯ เต๊นท์ที่ต่อเนื่อง คือ นิทรรศการของวัดปงสนุก


ดนตรีพื้นเมืองขับกล่อมบรรเลงโดยนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5


ดนตรีพื้นเมืองขับกล่อมบรรเลงโดยนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5


ตู้คอนเทนเนอร์นิทรรศการหลัก มีคนให้ความสนใจจำนวนมาก


ตู้คอนเทนเนอร์ด้านนอก โชว์ความเป็นไทยร่วมสมัยที่เรามักจะมองข้าม


วาดเล่นเส้นชอล์ค


กิจกรรมลูกปัดสุวรรณภูมิ เิชิญคนมาร้อยลูกปัด


นิทรรศการหนังไทย และทุกวันเสาร์อาทิตย์มีฉายหนังกลางแปลง(ขนาดย่อม) โดยคุณมานิตย์ วรฉัตร จากศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ไทยย้อนยุค อ.งาว


กิจกรรมจากศูนย์การเรียนรู้ปัทมเสวี ร่วมกับ TK-Park


นิทรรศการฮู้คิงกันเต๊อะ โดย ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง


ดนตรีเวทีประชาชนที่จัดอยู่ใกล้ๆกัน เปิดโอกาสให้เยาวชนแสดงความสามารถ

เก็บเอาภาพบรรยายกาศงาน Muse Mobile : พิพิธภัณฑ์ติดล้อ มาฝากกัน ส่วนแรกเป็นการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนวันที่ 27 กรกฎา ส่วนที่สองเป็นพิธีเปิดในวันเสาร์ที่ 1 สิงหาที่ผ่านมา
........................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

อาทิตย์ 2
สิงหา 52